Page 23 -
P. 23

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                                                                                               บทที่ 4




                     องค์ความรู้เกี่ยวกับการผสมพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด




                      การปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นศาสตร์และศิลป์ดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น องค์ความรู้เกี่ยวกับข้าวโพดทุกอย่าง

               ย่อมมีความส าคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์ อาทิ การเพาะปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว รวมทั้งหลังเก็บเกี่ยว เป็น
               ต้น อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์โดยตรงเท่านั้น


                       ศึกษาระยะการเจริญเติบโตของข้าวโพด นับว่าเป็นเรื่องที่ส าคัญ ซึ่งจะโยงไปถึงการปฏิบัติต่างๆ เมล็ด
               ข้าวโพด เมื่อฝังลงไปในดินที่มีความชื้นเพียงพอ จะงอกโผล่พ้นผิวดิน และใบแรกคลี่ออกให้เห็นภายในประมาณ

               4-6 วัน (ระยะที่ 1-2 ในภาพที่ 4.1) ต่อมาในระยะที่ 3 จึงจะมีรากออกมาจากข้อแรก (nodal roots) เพิ่มจากราก

               ชั่วคราว (primary roots หรือ seminal roots) ที่มีอยู่แล้ว การเจริญเติบโตของราก ล าต้น ใบ เป็นไปตามล าดับ
               จนกระทั่งถึงระยะที่ 7 จึงจะเริ่มเห็นช่อดอกตัวผู้ (tassel) ซึ่งในระยะนี้ข้าวโพดไร่จะมีอายุประมาณ 50-55 วัน

               หลังจากปลูก การเจริญเติบโตในระยะนี้เข้าสู่ระยะการผสมพันธุ์ (reproductive stage) เส้นไหม (silk) ของดอก
               ตัวเมียจะโผล่พ้นเปลือกหุ้ม (husk) ที่ฝัก พร้อมที่จะรับละอองเกสรได้ภายในประมาณ 55-60 วันหลังจากปลูก

               งานการปรับปรุงพันธุ์สามารถเริ่มได้


               การปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการการเลือกคัด (selection)ต้นที่ดี


                      การปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นศาสตร์และศิลป์ นอกจากเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชแล้ว ยังต้องเรียนรู้การ

               เลือกคัดต้นที่ดีไว้ท าพันธุ์ ข้าวโพดเป็นพืชที่มีดอกตัวผู้ (tassel)  และตัวเมีย (ear)  อยู่ในต้นเดียวกัน  เป็นพวก
               monoecious ดังนั้น ในการเลือกคัดต้นที่ดีไว้ท าพันธุ์ หรือผสมพันธุ์ ควรเลือกต้นที่มีลักษณะดังนี้

                             มีล าต้นตั้งตรง แข็งแรง และไม่สูงเกินไป (วัดจากระดับพื้นดินถึงปลายช่อดอกตัวผู้ ประมาณ

                               200-250 ซ.ม.)

                             มีระบบรากแข็งแรง ไม่หักล้มงาย อาจใช้วิธีโยกเบาๆ ก็ได้

                             มีใบเขียวสะอาด ไม่มีเชื้อโรค ใบตั้งเป็นมุมแคบกับล าต้น และมีสีเขียวสดยาวนาน จนถึงระยะที่
                               มีฝักติดเมล็ดแก่แล้ว ลักษณะดังกล่าวเรียกว่า ลักษณะ stay green

                             ช่อดอกตัวผู้  ไม่ใหญ่และเล็กเกินไป ควรคัดเลือกต้นที่อับเกสร (anther)  บานร้อยละ50และ

                               ปลดปล่อยละอองเกสรได้ดี ขณะเดียวกันดอกตัวเมีย (ear) ของต้นนั้นมีเส้นไหม (silk) โผล่พ้น

                               เปลือกหุ้มฝักมากพอส าหรับการผสมเกสร การผสมเกสรจะสมบูรณ์และติดเมล็ดมากน้อยขึ้นอยู่
                               กับระยะห่างระหว่างเวลาที่ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียบานพร้อมที่ผสมเกสรได้ ระยะเวลา

                               แตกต่างดังกล่าวเรียกว่า anthesis-silk interval (ASI) ต้นที่ดี ควรมี เอเอสไอแคบ และยิ่ง
                               แคบยิ่งดี






                                                                                                           22
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28