Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นายกิตติ ชุณหวงศ์ รวมทั้ง Dr. Bobby Renfro จากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ให้การสนับสนุนอีกด้วย ที่ส าคัญอีก
อย่างหนึ่งคือการมีสถานีทดลองที่ดีและการบริหารจัดการที่ดี น าไปสู่ความส าเร็จนี้
โครงการพัฒนาข้าวโพดหวาน
ศ.ดร.บรรเจิด คติการ นับเป็นคนแรกที่น าข้าวโพดหวานเข้ามาปลูกในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อธิการบดี หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจให้ชื่อพันธุ์นั้นว่า “ค่อมทอง 8 แถวแทะ” เมื่อเริ่มมีโครงการประสานงาน
ข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ส่ง Professor Dr. James Brewbaker จาก University of
Hawaii เข้ามาประจ าอยู่กรุงเทพฯ 1 ปี Dr. Brewbaker ได้น าข้าวโพดหวานพันธุ์ “Hawaiian Sugar” และสาย
พันธุ์อื่นๆ เข้ามาให้โครงการข้าวโพดหวานของมหาวิทยาลัย ในตอนหลัง รศ.ธวัช ลวะเปารยะ ได้พัฒนาให้เป็น
พันธุ์ “Supper Sweet” ที่ทนทานโรคราน้ าค้างด้วย นับเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานในประเทศ
ไทย ดร.โชคชัย เอกทัศนวรรณ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ทวีศักดิ์ ภู่หล า ลูกศิษย์ของ
Dr. Brewbaker นับเป็นผู้ที่มีส่วนอยู่เบื้องหลังของความส าเร็จนี้ ท าให้ประเทศไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์
ข้าวโพดหวานได้เป็นอันดับต้นๆ ของโลก
โครงการความร่วมมือที่ได้กล่าวมานี้ มีผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดใน
ภูมิภาค มีบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติจากประเทศต่างๆเข้ามาด าเนินธุรกิจเป็นจ านวนมาก และเกษตรกรไทย
มากกว่าร้อยละ 90 ใช้พันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเดี่ยว แสดงให้เห็นความก้าวหน้า ทันสมัยของอุตสาหกรรมการผลิต
และการค้าข้าวโพด นอกจากนั้น เชื้อพันธุ์ข้าวโพดและศิษย์เก่าผู้ที่เคยร่วมงานที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่าง
แห่งชาติ มีบทบาทสูงมากในการผลิตและการค้าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด
16