Page 13 -
P. 13
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมกสิกรรม ในปี พ.ศ. 2505 ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ
มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เริ่มจัดตั้ง โครงการประสานงานปรับปรุงการผลิตข้าวโพด (Co-ordinated Project for
Corn Improvement Program) โดยในระยะแรกได้ใช้สถานีทดลองกสิกรรมพระพุทธบาทของกรมกสิกรรม
เป็นสถานีวิจัยข้าวโพด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ใช้ในการทดสอบผลผลิตข้าวโพดดังได้กล่าวมาแล้ว
เมื่อมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ให้การสนับโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างเป็นทางการในปี
พ.ศ. 2506 นั้น ยังมีส านักงานอยู่ในประเทศอินเดีย และในปี พ.ศ. 2509 จึงได้ย้ายเข้ามามีส านักงานอยู่ที่กรม
กสิกรรม ในบริเวณเกษตรกลาง บางเขน และ และเริ่มให้การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาข้าวโพดในประเทศไทย
มูลนิธิฯได้ทาบทามมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ให้การสนับสนุนการจัดตั้ง “โครงการวิจัยข้าวโพดข้าวฟ่าง
แห่งชาติ”
การพัฒนา “ฟาร์มสุวรรณฯ”
มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์นับว่ามีบทบาทมากในการพัฒนาฟาร์มสุวรรณฯ ให้เป็น “ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าว
ฟ่างแห่งชาติ” ที่มีความพร้อมรองรับงานวิจัยและพัฒนา ตลอดจนงานฝึกอบรมบุคคลากรของไทยและต่างประเทศ
นับเป็นสถานีวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลในภูมิภาคแห่งหนึ่ง มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาฟาร์มมา
ช่วย คือ Mr. Finflock ตามด้วย Mr. Harwood และมีคนไทยเป็นผู้ช่วยหลายคนในระยะแรก อาทิ ดร.อัศจรรย์
สุขธ ารง อาจารย์สมศักดิ์ จันทร์หอม อาจารย์ประพัฒน์ เสรีศิริวัฒนา และอาจารย์พร รุ่งแจ้ง เป็นต้น
ภาพที่ 2.1 ประตูทางเข้าศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มีฝักข้าวโพดขนาดใหญ่เป็นสัญลักษณ์
12