Page 15 -
P. 15
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผลงานวิจัยของโครงการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ได้มีการน าเสนอในที่ประชุมวิชาการ ข้าวโพดและ
ข้าวฟ่างแห่งชาติทุกปี ซึ่งมีเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ติดต่อกันมาทุกปี แต่ละปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ
กรมวิชาการเกษตร หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ในปีนี้ (พ.ศ. 2554) เป็นครั้งที่ 35 ซึ่งกรมวิชาการเกษตรเป็น
เจ้าภาพ มีการจัดพิมพ์เป็นรายงานประจ าปี (Proceedings) ด้วยทุกครั้ง
ความส าเร็จในการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพด
ผู้เขียนเรียนจบจากสหรัฐและกลับมารับราชการที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามเดิมใน
เดือนธันวาคม พ.ศ. 2510 โครงการข้าวโพดของมหาวิทยาลัยได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ แล้ว
มีโครงการวิจัยแม่บทข้าวโพดข้าวฟ่างของมหาวิทยาลัยแล้ว ผมได้เข้าร่วมท างานใน ศ. 1 ) โครงการปรับปรุงพันธุ์
ข้าวโพด มี ดร.สุจินต์ จินายน เป็นหัวหน้าโครงการ มี Dr. Charles L. Moore และ Dr. S.K. Vasal จากมูลนิธิร็อค
กี้เฟลเลอร์มาประจ าท างานอยู่ด้วย
มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์นับว่ามีบทบาทส าคัญ ในการให้ความช่วยเหลือพัฒนาโครงการข้าวโพดในประเทศ
ไทย ในตอนต้น มูลนิธิฯ มีส านักงานอยู่ที่ประเทศอินเดีย แต่เริ่มให้ความสนใจในการพัฒนาข้าวโพดในประเทศไทย
เริ่มจากการที่ Dr. Ernest W. Sprague ได้เดินทางมาประเทศไทยและเจรจากับ ม.จ.จักรพันธุ์ เพ็ญศิริ จักรพันธุ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรในสมัยนั้น และในที่สุดได้ย้ายส านักงานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ภูมิภาคเอเชียมาอยู่ที่
กรุงเทพฯ
โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มี
ความก้าวหน้าดีตามล าดับ นับเป็นโครงการประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ โดยมีมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ให้การสนับสนุนที่ได้รับความส าเร็จมากโครงการหนึ่ง โครงการนี้ ในตอน
หลังเมื่อมูลนิธิมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ถอนตัวออกไป ได้มอบให้ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ ให้การ
สนับสนุนแทน
โครงการประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมวิชาการ
เกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร) โดยมีมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ให้การสนับสนุน นับว่าเป็นโครงการที่ได้รับ
ความส าเร็จมาก บุคคลากรส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการข้าวโพดในทุกสาขาวิชา ได้รับทุนมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
ศึกษาต่อต่างประเทศ จนกระทั่งจบปริญญาเอก ท าให้โครงการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ เป็นโครงการที่
เข้มแข็ง มีผลงานที่สามารถน าออกไปส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ในการผลิตข้าวโพดเป็นอุตสาหกรรม
บทบาทที่ส าคัญอีกอย่างหนึ่งของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ก็คือการสนับสนุนให้มีโครงการความร่วมมือใน
ภูมิภาค คือโครงการ “Inter-Asian Corn Program” มีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ผ่านการจัดประชุม โดยให้ประเทศต่างๆหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ และที่ส าคัญคือการสนับสนุนของ
มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เริ่มจาก Dr. E.W.Sprague เป็นผู้น าโครงการข้าวโพด และเมื่อ Dr. Sprague ย้ายไปเป็น
Director ของโครงการข้าวโพดที่ CIMMYT ในเม็กซิโกแล้ว ก็มี Dr. Bill Young ท าหน้าที่แทนมูลนิธิร็อคกี้เฟล
เลอร์ ในช่วงนั้นสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมโดยใช้ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ หรือไร่สุวรรณเป็น
14