Page 11 -
P. 11

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                                                                   บทที่ 2

                                          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับโครงการข้าวโพด




                       มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อก่อนเป็น “กรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” สังกัดกระทรวงเกษตรฯ ได้

               มีการพัฒนามหาวิทยาลัย ทั้งในเรื่องโครงสร้างการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการพัฒนา

               บุคคลากรมาโดยตลอด เริ่มจากปี พ.ศ. 2495 ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การบริหารความร่วมมือจาก
               ต่างประเทศ ผ่าน U.S.  International  Co-operation  Administration  (ICA)  ซึ่งมี  USOM มาด าเนินงานใน

               ประเทศไทย ได้จัดส่ง Dr. E.L. Potter จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐออรีกัน (Oregon State University) มาพิจารณา
               หาทางช่วยพัฒนามหาวิทยาลัย ซึ่งในตอนหลังได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญ จ านวน 6 คน มาช่วยพัฒนามหาวิทยาลัย เป็น

               เวลา 30 เดือนในช่วงปี พ.ศ. 2497 – 2498 มูลนิธิฟุลไบรท์ ในระยะปี พ.ศ. 2495 – 2498 ก็ได้จัดส่งอาจารย์ชาว
               อเมริกันมาช่วยสอนภาษาอังกฤษ ตามด้วยการส่งผู้เชี่ยวชาญการเกษตร อาทิ Dr. J.G. Harra และ Dr. Robert F.

               Chandler,  Jr.  เป็นต้น มาพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ซึ่งทั้งสองคนได้เป็นผู้น าของศูนย์วิจัยข้าวนานาชาติใน

               ประเทศฟิลิปปินส์

                      มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี ในคณะเกษตรศาสตร์ เมื่อผม

               เข้าเรียนในปี พ.ศ. 2498 ได้เปลี่ยนเป็น คณะกสิกรรมและสัตวบาล ผมจบการศึกษาปริญญาตรีเมือปี พ.ศ. 2503
               และต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้ปรับหลักสูตรเป็น 4 ปี และเปลี่ยนชื่อคณะเป็น “คณะเกษตร” โครงการพัฒนา

               มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มขึ้นด้วยความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ในระยะนี้ และด าเนินงานอยู่

               ประมาณ 20 ปี และโครงการพัฒนาข้าวโพดและข้าวจึงได้ก่อก าเนิดขึ้น


               โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งรัฐออรีกัน


                      สืบเนื่องมาจากการที่ Dr.  E.L.  Potter  จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐออรีกัน ได้เข้ามาพิจารณาหาทางช่วย
               พัฒนามหาวิทยาลัย และได้จัดส่งบุคคลากรเข้ามาช่วยงานการสอนและวิจัยในช่วงปี พ.ศ. 2497-2498 จึงได้เกิด

               โครงการความช่วยเหลือทางด้านงานวิจัยและพัฒนาข้าวโพดขึ้น มีการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด
               มา 1 คน คือ Dr. R.E. Fore และทางด้านดินและปุ๋ย คือ Dr. M.D. Dawson ในระยะเริ่มแรกทางผู้เชี่ยวชาญได้

               เริ่มน าข้าวโพดลูกผสมจากสหรัฐมาทดลองปลูกในบางเขนหลายพันธุ์ รวมทั้งพันธุ์ผสมเปิดอื่นๆ ด้วย ในปี พ.ศ.

               2503 ภาควิชาพืชศาสตร์ไม่มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดในพื้นที่วิทยาเขตบางเขนเลย จึงมอบให้นายสุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ ซึ่ง
               เรียนจบปริญญาตรี “กสิกรรมและสัตวบาลบัณฑิต” (เกียรตินิยม) ในปีนั้น และเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ผู้ช่วย

               ไปพัฒนาแปลงปลูกข้าวโพดในที่ดินติดกับกรมป่าไม้ ซึ่งต่อมาเป็นสวนหม่อน โดยยกร่องสูงเหมือนแปลงปลูกผัก

               และปลูกข้าวโพดบนสันร่อง ใช้น้ าในท้องร่องรดทุกวัน นอกจากปลูกข้าวโพดเพื่อดูการปรับตัวกับสภาพแวดล้อม
               แล้ว ยังปลูกแปลงขยายพันธุ์ เพื่อให้ฝึกหัดทดลองผสมพันธุ์ข้าวโพดโดยมี Dr. Fore เป็นคนฝึกสอน


                      หัวหน้าโครงการข้าวโพดในระยะเริ่มแรกคือ ศ.ดร.อรรถ นาครทรรพ หัวหน้าภาควิชาพืชศาสตร์ และมี
               นายสุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ เป็นนักวิจัยผู้ช่วย แปลงทดลองเปรียบเทียบพันธุ์ต้องไปขอใช้ที่สถานีทดลองกสิกรรม



                                                                                                           10
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16