Page 7 -
P. 7
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การพัฒนาข้าวโพดในประเทศไทย
ประชาชนคนไทยเริ่มรู้จักข้าวโพดในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่างปี พ.ศ. 2230-2231 แต่
พัฒนาการการผลิตข้าวโพดในยุคใหม่เริ่มขึ้นในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นับว่าเป็นยุคต้นๆ ของการกสิกรรม
สมัยใหม่ของประเทศไทย หรือที่เรียกกันว่า “การกสิกรรมบนดอน” ประมาณปี พ.ศ. 2463 ม.จ.สิทธิพร กฤดากร
อดีตอธิบดีกรมเพาะปลูก (กรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน) ได้ทดลองสั่งพันธุ์ข้าวโพดไร่ชนิดหัวบุบ (Dent corn)
มาจากสหรัฐอเมริกา มาทดลองปลูกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จ านวน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์นิโคลสันส์ เยลโล เด้นท์
(Nicholson’s Yellow Dent) ซึ่งมีเมล็ดสีเหลือง และพันธุ์เม็กซิกัน จูน (Mexican June) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2469
โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การควบคุมของพระยาเทพศาสตร์สถิต ซึ่งตั้งอยู่
ต าบลบางสะพานใหญ่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้น าไปทดลองปลูกที่โรงเรียนก็ได้ผลดีมาก ครั้นเมื่อโรงเรียนย้าย
มาอยู่ที่ทับกวาง ได้น าข้าวโพดทั้ง 2 พันธุ์มาปลูกแบบการค้าอย่างขนานใหญ่โดยใช้เครื่องมือทุ่นแรงต่างๆ ปรากฏ
ว่าได้ฝักใหญ่และงามดีมากเพราะดินเป็นดินใหม่
ในปี พ.ศ. 2494 กรมวิชาการเกษตร หรือกรมกสิกรรมในสมัยนั้น ได้น าเข้าข้าวโพดพันธุ์กัวเตมาลา
(Tiquisate Golden Flint) และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอย่างแพร่หลาย ข้าวโพดพันธุ์นี้สามารถปรับตัวได้ดีใน
สภาพแวดล้อมของไทย มีลักษณะต้นสูงประมาณ 240-300 ซม. มีต าแหน่งฝักสูงจากพื้นดิน 120-150 ซม. มีฝัก
ค่อนข้างสั้น เมล็ดหัวแข็งสีเหลืองเข้ม เปลือกหุ้มฝักดี และมีความต้านทานต่อหนอนเจาะรากดี มีอายุการเก็บเกี่ยว
ประมาณ 110-120 วัน ในปี พ.ศ. 2504 โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดของกรมกสิกรรมในสมัยนั้น ได้ใช้พันธุ์นี้
เป็นพันธุ์พื้นฐานและเริ่มการปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น โดยวิธีการคัดเลือกรวมที่เรียกว่า stratified mass selection
ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป การพัฒนาพันธุ์ได้กระท าอย่างต่อเนื่องที่สถานีทดลองพืชไร่พระพุทธบาท จังหวัด
สระบุรี ดังนั้น พันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงจึงได้รับการตั้งชื่อเป็นพันธุ์ “พระพุทธบาท” จนกระทั่งได้พันธุ์พระพุทธ
บาท 5 ในปี พ.ศ. 2509 และได้รับการขยายพันธุ์ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในปี พ.ศ. 2512 นับเป็นพันธุ์ใหม่ที่ให้ผล
ผลิตดี และนิยมปลูกกันแพร่หลาย จนกระทั่งมีปัญหาโรคราน้ าค้างระบาดหนัก และพันธุ์ไม่มีความต้านทานต่อโรค
ความนิยมจึงลดน้อยลง
โครงการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ
งานวิจัยข้าวโพด เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2503 เมื่อ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ (พระยศ
ขณะนั้น) อธิบดีกรมกสิกรรมได้เชิญมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มาร่วมโครงการข้าวโพด ซึ่งมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ส่ง
Dr. E.J. Wellhausen และ Dr. E.W. Sprague ที่มีประสบการณ์ในลาตินอเมริกาและประเทศก าลังพัฒนาอื่นๆ
เข้ามาช่วยพัฒนาโครงการข้าวโพดในประเทศไทย ต่อจากนั้น มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ย้ายส านักงานจากอินเดียมา
อยู่ในประเทศไทย จึงเกิดมีความร่วมมือในโครงการข้าวโพดขึ้น ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ ให้การสนับสนุน โครงการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ
จึงได้เกิดขึ้น การพัฒนาข้าวโพดจึงมีความก้าวหน้าดีตามล าดับ นับเป็นโครงการประสานงานระหว่าง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการนี้ ในตอนหลังเมื่อมูลนิธิมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
6