Page 6 -
P. 6
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 1
ประวัติการพัฒนาข้าวโพดในประเทศไทย
ข้าวโพดเป็นพืชไร่ชนิดใหม่ส าหรับประเทศไทย แต่เป็นธัญพืชหลักที่มีความส าคัญอย่างหนึ่งของโลก รอง
จากข้าวเจ้า และข้าวสาลี มีการใช้เป็นพืชอาหารกันอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ อาทิ ประเทศเม็กซิโก อินเดีย
อินโดนีเซีย และ อิตาลี เป็นต้น ประชาชนในประเทศเหล่านี้ รับประทานข้าวโพดเป็นอาหารประจ าวันในรูปแบบ
แตกต่างกัน นอกจากใช้เป็นอาหารมนุษย์แล้ว ยังใช้ข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์กันอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้น เมล็ด
ข้าวโพด และส่วนอื่นๆ เช่น ต้น ใบ และซัง ยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้หลายชนิด อาทิ เมล็ด อาจน ามาสกัด
น้ ามัน น้ าตาล และท าแป้ง นอกจากนั้น น ้ำตำล ที่สกัดจากเมล็ดใช้ท าสารเคมี วัตถุระเบิด สีย้อมผ้า แป้ง ใช้ท าสบู่
หมึก กาว น้ ามัน นอกจากใช้รับประทานแล้ว ยังใช้ท าสีทาบ้าน ยาขัดเงา ล้ำต้นและใบ ใช้ท ากระดาษ กระดาษอัด
ซัง ใช้ท าจุกขวด กล้องยาสูบ และเชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ส าคัญๆ ซึ่งใช้ข้าวโพดเป็นส่วนประกอบ มี
ประมาณกว่า 500 ชนิด ส าหรับในประเทศไทย ข้าวโพดที่ผลิตได้เกือบทั้งหมดส่งไปจ าหน่ายต่างประเทศ การใช้
ข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์ และอาหารมนุษย์มีน้อย
ประเทศไทยมีการปลูกข้าวโพดมาช้านานแต่ปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพิ่งจะเริ่มปลูกกันอย่างจริงจัง
เมื่อรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชไร่ให้หลากหลายชนิด ท าให้ปริมาณการผลิตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี
พ.ศ. 2472 ผลผลิตทั้งประเทศมีเพียง 3.73 ตัน แต่ในปี พ.ศ. 2518 เพิ่มขึ้นเป็น 2.9 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก
5,678 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2531 ประเทศไทยเพิ่มพื้นที่ปลูกเป็น 11.5 ล้านไร่ ผลผลิตสูงถึง 4.675 ล้านตัน
มีมูลค่าการส่งออก 5,135 ล้านบาท ตลาดต่างประเทศของไทยในตอนนั้น คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์
การส่งออกข้าวโพดของไทยในช่วงนั้น นับว่ามากเป็นอันอันดับ 4 ของโลก รองจาก สหรัฐอเมริกา จีน และ
อาร์เจนตินา อย่างไรก็ตาม ต่อจากนั้น การผลิตและการส่งออกข้าวโพดของไทยลดลงตามล าดับ ทั้งนี้ เนื่องจาก
พื้นที่ปลูกลดลงจากการแข่งขันของพืชไร่อื่นๆ เช่น อ้อยและมันส าปะหลัง เป็นต้น และความต้องการใช้
ภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ต้องใช้ข้าวโพดเป็น
ปริมาณมาก
ข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่ได้รับการศึกษาวิจัยมากพืชหนึ่งของโลก นักวิจัยได้ใช้พืชนี้เป็นเครื่องมือในการ
ค้นคว้าหาความรู้ทางชีววิทยาทุกแขนงวิชาการ อาทิ สัณฐานวิทยา (Morphology) สรีรวิทยา
(Physiology) เซลวิทยา (Cytology) พันธุศาสตร์ (Genetics) และการปรับปรุงพันธุ์ (Breeding) เป็นต้น
ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่เพาะปลูกได้ค่อนข้างง่าย อายุสั้น ขยายพันธุ์ได้ง่าย และมีการถ่ายทอดทาง
พันธุกรรมที่ไม่สลับซับซ้อนนัก ในที่นี้ จะเน้นเฉพาะเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ โดยวิธีการเลือกคัด และการผสม
พันธุ์ เพื่อเป็นแนวทางส าหรับนักวิชาการปรับปรุงพันธุ์พืช อาจน าไปใช้เป็นประโยชน์ได้
5