Page 5 -
P. 5

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                                                                                                 บทน า






                      ประเทศไทยมีการเพาะปลูกข้าวโพดมาช้านาน ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่างปี
               พ.ศ. 2230-2231 ท าให้คนไทยเริ่มรู้จักข้าวโพด จนกระทั่งคิดว่าเป็นพืชพื้นบ้านของเรา ความจริงนั้น ข้าวโพดมีถิ่น

               ฐานก าเนิดในประเทศเม็กซิโก บังเอิญในระหว่างปี พ.ศ. 2516-2517 ผู้เขียนมีโอกาสไปท างานวิจัยข้าวโพดที่

               ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติหรือ ซิมมิท (CIMMYT  -  International  Maize  and  Wheat
               Improvement  Center)  ที่ตั้งอยู่ใกล้กรุงเม็กซิโกซิตี้ และมีโอกาสตระเวนดูถิ่นที่อยู่ของข้าวโพดป่าในบริเวณ

               ข้างเคียง มีโอกาสพบและพูดคุยกับนักวิจัยที่ท าการศึกษาเรื่องก าเนิดของข้าวโพดหลายท่านที่เข้าไปท างานวิจัย

               เรื่องข้าวโพดในประเทศเม็กซิโก อาทิ Professor Dr. Jack R. Harlan จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ Professor Dr.
               H.G. Wilkes จากมหาวิทยาลัยแมสสาชูเส็ทส์ และ Professor Dr. C.O. Gardner จากมหาวิทยาลัยเน็บบราสก้า

               เป็นต้น

                      ข้าวโพด อยู่ในความสนใจของผู้เขียน ตั้งแต่เรียนอยู่ที่ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2502
               ในสมัยนั้นมี ศาสตราจารย์ ดร.อรรถ นาครทรรพ เป็นหัวหน้าภาคและเป็นหัวหน้าโครงการข้าวโพดของ

               มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา โดยองค์กรยูซ่อม (USOM)  ในระยะนั้น
               อาจารย์รุ่นพี่หลายคนไปเรียนต่อต่างประเทศกันหมด ผู้เขียนจึงมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยดูแลโครงการวิจัยและพัฒนา

               ข้าวโพดตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงปี พ.ศ. 2505 ที่ผู้เขียนได้รับทุนขององค์การปรมาณูเพื่อสันติ (IAEA) เพื่อไปฝึกอบรม

               ที่ประเทศเดนมาร์ค ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน ซึ่งตอนนั้นเรียนจบปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกาได้กลับมา
               ดูแลโครงการข้าวโพดแทน

                      ผู้เขียน หลังจากเรียนจบปริญญาเอกสาขาปรับปรุงพันธุ์พืชจากสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2511 ได้กลับมา
               ปฏิบัติงานที่คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามเดิม และเข้าร่วมโครงการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ

               ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีมูลนิธิร็อก

               กี้เฟลเลอร์ให้การสนับสนุน ต่อมาในภายหลัง ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติหรือ ซิมมิทจึงได้เข้ามามี
               บทบาทช่วยเหลือและประสานงาน นอกจากบทบาทนักวิจัยแล้ว ผู้เขียนยังได้รับหน้าที่ช่วยบริหารโครงการและ

               ประสานงานกับองค์กรภาครัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรนานาชาติ ได้มีโอกาสลาออกจากราชการไปร่วมงานกับ

               บริษัทเอกชน เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม และมีโอกาสไปร่วมท างานกับศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวสาลี
               นานาชาติ เป็นเวลา 6 ปี

                      ประสบการณ์ และความรู้เรื่องข้าวโพดของผู้เขียนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
               น่าจะเป็นประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นหลัง จึงได้พยายามรวบรวม เรียบเรียงเป็นเรื่องเล่า เพื่อพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารนี้












                                                                                                            4
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10