Page 8 -
P. 8

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




               ถอนตัวออกไป ได้มอบให้ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (CIMMYT  -  International  Maize  and

               Wheat Improvement Center) ให้การสนับสนุนแทน

                      โครงการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ที่ด าเนินการโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมกสิกรรม

               (กรมวิชาการเกษตร) และกรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ให้การสนับสนุน นับว่าเป็นโครงการที่
               ได้รับความส าเร็จมาก บุคคลากรส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการข้าวโพดในทุกสาขาวิชา ได้รับทุนมูลนิธิร็อคกี้เฟล

               เลอร์ศึกษาต่อต่างประเทศ จนกระทั่งจบปริญญาเอก ท าให้โครงการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ เป็นโครงการที่

               เข้มแข็ง มีผลงานที่สามารถน าออกไปส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ในการผลิตข้าวโพดเป็นอุตสาหกรรม จน
               ท าให้ประเทศไทยสามารถผลิตข้าวโพดส่งออกติดอันดับต้นๆ ของโลก ในปี พ.ศ. 2528 ผลิตข้าวโพดได้ 4.9 ล้าน

               ตัน ส่งออก 3.5 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การส่งออกข้าวโพดของไทยลดลง เนื่องจากความต้องการใช้ภายในประเทศ
               เพิ่มขึ้นมากจนในปัจจุบันจ าเป็นต้องน าเข้าประมาณครึ่งล้านตันต่อปี


                      บทบาทที่ส าคัญอีกอย่างหนึ่งของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ก็คือการสนับสนุนให้มีโครงการความร่วมมือใน
               ภูมิภาค คือโครงการ  “Inter-Asian  Corn  Program”  มีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยน

               ประสบการณ์ผ่านการจัดประชุม โดยให้ประเทศต่างๆหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ และที่ส าคัญคือการสนับสนุนของ

               มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ เริ่มจาก Dr.  E.W.Sprague  เป็นผู้น าโครงการข้าวโพด และเมื่อ Dr.  Sprague  ย้ายไปเป็น
               Director ของโครงการข้าวโพดที่ CIMMYT ในเม็กซิโกแล้ว ก็มี Dr. Bill Young ท าหน้าที่แทน มูลนิธิร็อคกี้เฟล

               เลอร์ ในช่วงนั้นสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมโดยใช้ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ หรือไร่สุวรรณเป็น
               ศูนย์กลางการฝึกอบรม นักวิชาการจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเกือบทุกประเทศผ่านการฝึกอบรมที่ไร่สุวรรณแทบ

               ทั้งสิ้นนับว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้น


               ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ


                      ความส าเร็จในการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดในประเทศไทย เกิดขึ้นเนื่องจากการพัฒนาศูนย์วิจัยข้าวโพดและ

               ข้าวฟ่างแห่งชาติ ให้เป็นฟาร์มวิจัยที่มีศักยภาพในแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นส่วนเสริม
               ให้ประเทศสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะต่อมาศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวสาลี

               นานาชาติ หรือ CIMMYT (International Maize and Wheat Improvement Center) ได้ให้ความช่วยเหลือ
               สนับสนุนสืบต่อจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ในขณะที่กรมกสิกรรมด าเนินงานปรับปรุงพันธุ์กัวเตมาลาอยู่นั้น

               โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มพัฒนาข้าวโพดพันธุ์ใหม่ขึ้น โดยใช้พันธุ์

               ข้าวโพดที่ได้รับมาจาก CIMMYT จ านวน 36 พันธุ์ พันธุ์เหล่านี้น ามาจากประเทศต่างๆและมีฐานทางพันธุกรรม
               หลากหลาย โครงการปรับปรุงพันธุ์ได้เริ่ม ด าเนินการพัฒนาเป็นพันธุ์ผสมรวม ในปี พ.ศ. 2511 ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพด

               และข้าวฟ่างแห่งชาติ โดยวิธีผสมพันธุ์แบบพบกันหมดเพื่อให้พันธุ์ทั้งหลายกลมกลืนเป็นพันธุ์เดียวกัน ในที่สุดได้

               พันธุ์ผสมรวม ที่มีชื่อว่า พันธุ์ Thai Composite # 1 หลังจากนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2513 พันธุ์สังเคราะห์
               ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น โดยให้มีความสม่ าเสมอมากขึ้น มีผลผลิตดีขึ้น และมีลักษณะทางเขตกรรมอื่นๆ ดี

               ด้วย






                                                                                                            7
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13