Page 12 -
P. 12

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




               พระพุทธบาท สระบุรี รถยนต์ขนาดใหญ่ก็ไม่มี ต้องขอยืมรถจากคณะประมงในตอนหลัง เมื่ออาจารย์สุจินต์

               จินายน จบปริญญาโทกลับมาจากสหรัฐ ในเดือนมกราคม 2504 จึงได้รับหน้าที่ เป็นหัวหน้าโครงการแทน


               จาก “ธนะฟาร์ม” เป็น “สถานีวิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ”


                      พ.ต. สงวน บุญชื่น คนสนิทของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เล่าไว้ว่า “ธนะฟาร์ม” เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501
               เมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ได้ซื้อที่ดินบริเวณริมถนนมิตรภาพ ก.ม.ที่ 155-156 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราขสีมา และ

               ในปีถัดมาบุกเบิก ปลูกข้าวโพดและถั่วลิสง งาน “วันชาวไร่” ก็ถือก าเนิดจัดขึ้นที่ฟาร์มนี้ทุกปี ผมจ าได้ว่า หลังจบ
               ปริญญาตรีใหม่ๆ ได้ไปร่วมในงานนี้ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 ธันวาคม 2504 และ มีอาจารย์หลายท่านก็ไป

               ร่วมงาน อาทิ อาจารย์บุญธรรม จิตต์อนันต์ อาจารย์วิจิตร อาวะกุล อาจารย์ไสว พงษ์เก่า และอาจารย์วัฒนา

               เสถียรสวัสดิ์ เป็นต้น

                      คุณหลวงอิงคศรีกสิการ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เล่าไว้ว่า เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

               ถึงแก่อสัญกรรม ฟาร์มและทรัพย์สินได้ตกเป็นของราชการ รัฐบาลได้ตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มี ฯพณฯ สุนทร
               หงษ์ลดารมภ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยนั้น เป็นประธาน พิจารณาการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินเหล่านี้

               หลวงอิงคศรีกสิการ (นายอินทรี จันทรสถิตย์) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ขอให้รัฐบาลโอนไร่

               ธนะฟาร์มให้เป็นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งฟาร์มปากช่องด้วย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาของชาติ
               และได้รับอนุมัติในเวลาต่อมา มหาวิทยาลัยได้พัฒนาให้เป็นสถานีวิจัยเกี่ยวกับข้าวโพดและใช้เป็นที่ฝึกงานของนิสิต

               ด้วย มหาวิทยาลัยฯได้บรรจุ พ.ต.สงวน ชื่นบุญ เป็นข้าราชการดูแลและช่วยพัฒนาฟาร์มนี้ จนกลายเป็น “สถานี

               วิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจ และศูนย์วิจัยสุวรรณวาจกกสิกิจ” เพื่อเป็นเกียรติแก่ คุณหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ อดีต
               อธิการบดี


                      ในปี พ.ศ. 2508 มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้อาจารย์หลายท่านไปเป็นหัวหน้าสถานีวิจัยสุวรรณฯ อาทิ
               ดร. สุวรรณ เกษตรสุวรรณ เป็นคนแรกในช่วงปี พ.ศ. 2508 - 2509 อาจารย์อัญเชิญ ชมภูโพธิ์ อาจารย์ปวิณ

               ปุณศรี อาจารย์วิทวัส บัวจันทร์ อาจารย์อัศจรรย์ สุขธ ารง อาจารย์พร รุ่งแจ้ง เป็นต้น


               โครงการประสานงานปรับปรุงการผลิตข้าวโพด


                      มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เริ่มให้ความสนใจช่วยประเทศไทยพัฒนาโครงการข้าวโพด ตอนประมาณปี พ.ศ
               2501-2502 เมื่อ Dr.  E.W.  Sprague  ซึ่งขณะนั้นยังมีส านักงานอยู่ในประเทศอินเดีย ได้เดินทางมาส ารวจดูงาน

               ข้าวโพดในไทย มี ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ (พระยศขณะนั้น) ซึ่งเป็นอธิบดีกรมกสิกรรม และเป็นรอง

               อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยได้ให้การต้อนรับพาดูงาน นายสุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ ได้ร่วมคณะไปกับ
               อาจารย์อ าพล เสนาณรงค์ (ฯพณฯองคมนตรี) ไปดูงานแถวพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี เป็นผลให้มูลนิธิฯ เริ่ม

               ช่วยเหลือประเทศไทยในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการใน ปี พ.ศ. 2506 และด าเนินการติดต่อกัน
               20 ปี “โครงการวิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ” ได้เกิดขึ้น ตามด้วยการจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าว

               ฟ่างแห่งชาติ” ขึ้นในปี พ.ศ. 2512 ที่ฟาร์มสุวรรณฯ มีพิธีเปิดงานเป็นทางการในปีนั้น โดยมีจอมพลถนอม

               กิตติขจร เป็นประธาน และ ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นผู้กล่าวรายงาน


                                                                                                           11
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17