Page 14 -
P. 14

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                      การพัฒนาฟาร์มเริ่มจากการปรับพื้นที่ เอาก้อนหินที่ฝังอยู่ในแปลงทดลองออก จัดแบ่งแปลงทดลองให้

               เป็นระเบียบ เจาะบ่อบาดาล สร้างบ่อกักเก็บน้ า สร้างระบบชลประทานโดยมีท่อใต้ดินและระบบให้น้ าที่ทันสมัย
               จัดซื้อหาเครื่องจักรกลการเกษตร สร้างโรงเรือน ส านักงาน บ้านพัก หอพักนิสิตนักศึกษา และหอพักนานาชาติ

               เป็นต้น


               โครงการวิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ


                      นอกจากสนับสนุนงานวิจัยแล้ว มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ยังมีบทบาทช่วยประเทศไทยในการพัฒนา
               บุคคลากร ทั้งของกระทรวงเกษตรและมหาวิทยาลัย 3   แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

               มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนั้นในปีพ.ศ. 2510 ยังได้สนับสนุนให้ใช้ฟาร์มสุวรรณฯ

               ฝึกอบรมด้านการพัฒนาข้าวโพดและข้าวฟ่างให้กับบุคลากรจากประเทศต่างๆ ในเอเซียอีกด้วย ซึ่งในปีต่อมาได้
               จัดตั้ง “โครงการประสานงานข้าวโพดระดับภูมิภาคเอเซีย Inter-Asian Corn Program” ขึ้น


                      ม.จ.  จักรพันธ์เพ็ญศิริ  จักรพันธุ์  นับว่ามีบทบาทสูงมากในการประสานงานกับทางมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์
               โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Dr. George Harrar และDr. E.W. Sprague ท่านได้รับเกียรติเป็นผู้แทนประเทศไทย รับ

               เชิญเข้าเป็นกรรมาธิการหรืออภิมนตรี  (Board  of  Trustees)  ชุดริเริ่ม  เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าว

               สาลีนานาชาติ (CIMMYT - International Maize and Wheat Improvement Center) ขึ้นในประเทศเม็กซิโก
               นับเป็นก้าวส าคัญของความร่วมมือผ่องถ่ายจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มาสู่ความร่วมมือกับ  C I M M Y T


                      งานวิจัยในระยะเริ่มแรก เป็นงานวิจัยร่วมกับกรมกสิกรรม (กรมวิขาการเกษตร) โดยการสนับสนุนของ
               มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับกระทรวงเกษตรและ

               สหกรณ์ (กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร) ท าให้นักวิจัยและข้าราชการของทั้งสองฝ่ายมีโอกาส

               ท างานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีในวงราชการไทย

                      โครงการวิจัยแม่บทข้าวโพดข้าวฟ่างของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีโครงการย่อย 12 โครงการ คือ

                              ศ. 1)   โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด

                              ศ. 2)  โครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่าง
                              ศ. 3)   โครงการวิจัยด้านเขตกรรม

                              ศ. 4)   โครงการวิจัยดินและปุ๋ย

                              ศ. 5)   โครงการวิจัยโรคข้าวโพดและข้าวฟ่าง
                              ศ. 6)   โครงการวิจัยแมลงศัตรูข้าวโพดและข้าวฟ่าง

                              ศ. 7)  โครงการวิจัยคุณภาพข้าวโพดและข้าวฟ่าง
                              ศ. 8)   โครงการวิจัยการใช้ประโยชน์ข้าวโพดและข้าวฟ่าง

                              ศ. 9)   โครงการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และการตลาดข้าวโพดและข้าวฟ่าง

                              ศ. 10)  โครงการบริหารและพัฒนาสถานี
                              ศ. 11)  โครงการทดลองข้าวโพดและข้าวฟ่างในระดับไร่กสิกร

                              ศ. 12)  โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์


                                                                                                           13
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19