Page 48 -
P. 48

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           2


                                          ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย


                      เปลี่ยนผ่านความยากจนจากการประเมินความมีส่วนร่วม วิเคราะห์รูปแบบและปัจจัยที่มีอิทธิพล
                      ต่อพลวัตความยากจนจากข้อมูล panel data สองช่วงเวลา ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าว่าความเข้าใจ
                      จากวิธีการเชิงคุณภาพสามารถให้ข้อมูลเพิ่มจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ โดยรายละเอียดจาก
                      การสัมภาษณ์ประวัติชีวิตเป็นการเติมเต็มที่มีคุณค่าต่อการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการบ่งชี้

                      ว่าการรวมของสองวิธีได้เพิ่มคุณค่าอย่างมีนัยยะต่อความเข้าใจของพลวัตความยากจนมากกว่า
                      การใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ขึ้นอยู่กับกรอบตัวอย่างที่แตกต่าง
                      กัน นอกจากนี้มีการศึกษาต่อมา เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นของการรวมระเบียบวิธีการศึกษา
                      ทั้งสอง โดย Lawson Hulme และ Muwongse (2007) ได้ใช้วิธีการผสมผสานตามลำดับขั้นตอน
                      โดยใช้ผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากการสำรวจ เพื่อที่จะรายงานและออกแบบการ
                      สัมภาษณ์ประวัติชีวิตซึ่งงานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้กรอบตัวอย่างเดียวกันกับการสำรวจครัวเรือน
                      อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาของข้อมูล panel ที่ได้จากการสำรวจไม่ใช่ช่วงเวลาเดียวกับการสัมภาษณ์
                      ประวัติชีวิต การศึกษานี้เป็นกรณีในอุดมคติสำหรับลำดับของเวลาและอาจจะก่อให้ความยุ่งยาก
                      ในการอ้างอิงเวลาเมื่อทำการสัมภาษณ์ถึงข้อมูลย้อนหลัง ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือ

                      ดังนั้นจึงมีการแนะนำว่าการรวบรวมข้อมูลของการสำรวจควรจะดำเนินการภายในช่วงเวลาเดียว
                      กับการสัมภาษณ์

                             Davis และ Baulch (2009) ได้ทำการศึกษาโดยรวมระเบียบวิธีการวิจัยซึ่งประกอบด้วย
                      ข้อมูลสำรวจรายจ่ายครัวเรือนและการสัมภาษณ์ประวัติชีวิตเพื่อที่จะประเมินพลวัตความยากจน
                      ทั้งสอง ผลการศึกษาพบว่าการสัมภาษณ์ประวัติชีวิตแสดงถึงการเปลี่ยนผ่านของความยากจน
                      น้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่กำลังจะหลุดพ้นจากความยากจน ยิ่งไปกว่านั้นสองวิธีนี้ให้
                      ผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกันในการเปลี่ยนผ่านของความยากจน กรณีที่แตกต่างกันของการไม่สอดคล้อง
                      กันระหว่างพลวัตความยากจนเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งจะนำไปสู่วิธีหลักสำหรับการทำให้
                      ความแตกต่างเหล่านี้สอดคล้องกัน


                             การทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมาทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่ามีความพยายามในการผสมผสาน
                      ทั้งสองวิธีวิจัยเพื่อศึกษาเกี่ยวกับพลวัตความยากจนเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าการประยุกต์ของวิธีการทั้ง
                      สองเข้าด้วยกันยังคงมีไม่มากและยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ก็พบว่า ‘มีความเป็นไปได้ และเป็น
                      สิ่งที่พึงปรารถนา’ (Addison et al., 2009) ดังนั้นจึงควรพัฒนางานวิจัยในบริบทเหล่านี้เพิ่มเติม
                      เพื่อเติมเต็มช่องว่างทางความรู้และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการใช้การผสมผสาน
                      ระหว่างวิธีเชิงปริมาณและวิธีเชิงคุณภาพสำหรับการวิจัยพลวัตความยากจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
                      กรณีของประเทศกำลังพัฒนาและกรณีของประเทศไทย









                                                                                             47
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53