Page 47 -
P. 47
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
งานวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทั้งสองวิธี (Kanbur, 2003) Shaffer (2006) เสนอสองวิธีใน
การรวมวิธีการวิจัย หนึ่งคือ ‘ทำพร้อมกัน (putting together)’ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากสองวิธีที่แยกกัน
ได้นำมาใส่เข้าด้วยกันสำหรับการสนับสนุน ยืนยัน หรือหักล้างซึ่งกันและกัน และวิธีที่สองคือ “การ
รวมกันทางระเบียบวิธี (methodological integration)” ซึ่งทั้งสองวิธีได้ถูกดำเนินการอย่างเป็น
ลำดับและผลจากวิธีหนึ่งถูกนำไปใช้ในการออกแบบของอีกวิธีหนึ่ง
ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพลวัตความยากจน โดยการประยุกต์รวมวิธีเชิงปริมาณ
และเชิงคุณภาพยังมีปริมาณน้อยมาก ซึ่งพบว่าการศึกษาที่ผ่านมาเกือบทั้งหมดใช้วิธีการผสม
ผสานกันทางระเบียบวิธีอย่างเป็นลำดับขั้น (sequential integration) สำหรับการศึกษาพลวัติ
ความยากจน วิธีการหลักสองวิธีจำเป็นในการทบทวน (1) วิธีเชิงปริมาณที่ขึ้นอยู่กับข้อมูล panel
data (2) วิธีเชิงคุณภาพขึ้นอยู่กับข้อมูลพลวัตของสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงวิธีทางสังคมและ
มนุษยวิทยา เช่น การสัมภาษณ์กึ่งครัวเรือน ประวัติชีวิต และอื่นๆ ของวิธีการแบบมีส่วนร่วม
(McKay and Lawson, 2002; Hulme, 2007) ทั้งนี้ การผสมผสานกรอบตัวอย่างจากแผงข้อมูล
จะถูกนำไปใช้ในวิธีเชิงคุณภาพในกลุ่มตัวอย่างที่เล็กลง และการอธิบายผลทางเศรษฐมิติที่ได้จาก
การวิเคราะห์เชิงปริมาณจะถูกนำไปใช้ออกแบบการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ โดยตัวอย่างที่ผ่านมา
ของงานวิจัยที่ใช้การประยุกต์วิธีแบบผสมผสานในการศึกษาพลวัตความยากจนของประเทศกำลัง
พัฒนา ได้แก่
การศึกษาของ Bird และ Shinyekwa (2003) ประเทศอูกานดาซึ่งริเริ่มที่จะตรวจสอบ
พลวัตการเข้าและออกจากความยากจนของครัวเรือนในชนบท โดยใช้วิธีแบบมีส่วนร่วมกับการ
สัมภาษณ์ประวัติชีวิตร่วมกับการศึกษาสภาวะความเป็นไปได้เชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่า
นอกเหนือจากสิ่งที่เกิดขึ้นโดยทันทีทันใด (shocks) แล้ว ความสัมพันธ์ของเพศ (ชายและหญิง)
และการบริโภคแอลกอฮอล์ที่เกินความจำเป็น เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้คนไปสู่ความยากจน
ในขณะที่การเผชิญกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีทันใด (shocks) ถือเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ส่งผล
ให้คนไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกจากความยากจน
อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ไม่ได้นำเสนอรูปแบบพลวัตความยากจนอย่างเฉพาะเจาะจง
โดยนำเสนอเพียงแนวโน้มความยากจนในภาพรวม มิได้วิเคราะห์ว่าคนเข้าไปสู่ความจนได้
อย่างไรและอะไรที่เป็นสาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลให้พวกเขายังคงอยู่ในความจน Lawson McKay
และ Okidi (2006) ได้ทำการศึกษาโดยการรวมวิธีเชิงคุณภาพและวิธีเชิงปริมาณสำหรับการบ่งชี้
ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อพลวัตความยากจน โดยวิเคราะห์ถึงปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการ
46 สถาบันคลังสมองของชาติ