Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
2.4.2 วิธีการศึกษา
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักที่จะศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงพลวัตของ
ความยากจน โดยเน้นให้เกิดความเข้าใจว่าพลวัตความยากจนของครัวเรือนชาวนาในชนบทไทย
นั้นมีรูปแบบและกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างไร รวมถึงอะไรคือปัจจัยสำคัญที่อธิบายพลวัต
ของความยากจนที่เกิดขึ้นดังกล่าว การศึกษานี้อาศัยวิธีการศึกษาแบบผสมผสานบนพื้นฐานการ
วิเคราะห์ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยเป็นการผสมผสานอย่างเป็นขั้นตอน
(sequentially integrate) นั่นคือ
ขั้นตอนแรก การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
(quantitative methods)
เริ่มจากการวิเคราะห์บนฐานข้อมูลสำรวจครัวเรือนแบบ panel จากการใช้แบบสอบถาม
เพื่อคำนวณหารูปแบบพลวัตความยากจนว่ามีลักษณะอย่างไร โดยขั้นตอนนี้จะอาศัยวิธีการ
วิเคราะห์เชิงปริมาณในการวัดความยากจนจากระดับรายได้ครัวเรือน หลังจากนั้นจัดแบ่ง
ครัวเรือนเข้ากลุ่มโดยแบ่งตามลักษณะพลวัตความยากจนโดยอาศัย transitional matrix จากนั้น
จึงเลือกกลุ่มครัวเรือนตัวอย่างบางครัวเรือนเพื่อใช้ในการศึกษาวิเคราะห์เชิงคุณภาพในขั้นต่อไป
ขั้นตอนที่สอง การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
(qualitative methods)
ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับประวัติชีวิต (life history interviews) และการ
สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (semi-structured interviews) วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจะสามารถ
ช่วยอธิบายผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในรายละเอียดเชิงลึกและเพิ่มเติมข้อมูลให้
มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดความเข้าใจในวิถีชีวิตความเป็นอยู่และสภาพ
แวดล้อมต่างๆ รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของครัวเรือนชาวนาในแต่ละช่วงชีวิต ทั้งปัจจัยทาง
ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ข้อมูลเชิงปริมาณไม่สามารถ
อธิบายและสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ได้สรุปรูปแบบวิธีวิจัย และเครื่องมือที่
ใช้ในการวิเคราะห์ ไว้ในตารางที่ 2.3 และ 2.4 ตามลำดับ
48 สถาบันคลังสมองของชาติ