Page 45 -
P. 45

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



               เช่น กรณีศึกษาของประเทศอูกานดา McGee (2000) อ้างว่าวิธีการทั้งสองได้เสริมกัน ซึ่งจาก
               ข้อมูลการสำรวจ วิธีการเชิงคุณภาพสามารถทำให้เข้าใจได้มากขึ้นว่า คนจนลดการบริโภคลง
               อย่างไร ซึ่งวิธีการแบบมีส่วนร่วมช่วยให้ผลการศึกษามีความกระจ่างขึ้น โดยในบางประเด็น
               ไม่สามารถทราบได้จากวิธีการสำรวจเพียงอย่างเดียว McGee ได้สรุปว่าทั้งสองวิธีเติมเต็มซึ่งกัน
               และกัน สอดคล้อง และเข้ากันได้ “แง่มุมหนึ่งของการเติมเต็มซึ่งกันและกันกล่าวคือข้อมูล
               จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (household survey) ให้ความกว้าง
               หรือภาพตัวแทนทางสถิติของชั้นทางเศรษฐกิจสังคมทั้งหมด ในขณะที่วิธีการแบบมีส่วนร่วม
               จากการสัมภาษณ์ (participatory poverty assessment: PPA) ให้ความลึก ในการตรวจสอบ
               ปรากฏการณ์ของภาวะความยากจนได้โดยละเอียด”



                 กล่องที่  2.1   การผสมผสานของวิธีเชิงคุณภาพและปริมาณในการวิเคราะห์
                               ความยากจน


                        การผสมผสานหรือการรวมกันของวิธีเชิงคุณภาพและปริมาณในการวิเคราะห์ความ
                   ยากจนมีหลายรูปแบบ ซึ่ง Carvalho และ White (1997) เสนอสามวิธีที่สำคัญดังนี้

                     (í)  การรวมกันทางระเบียบวิธีของวิธีทั้งสอง หมายถึง การนำผลลัพธ์ของวิธีหนึ่งป้อนไปสู่การ
                   ออกแบบของอีกวิธีหนึ่ง ตัวอย่างคือ การใช้ข้อมูลสำรวจเพื่อที่จะกำหนดกลุ่มตัวอย่างบุคคล/
                   ครัวเรือนสำหรับใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ (หรือในทางกลับกัน) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จาก
                   การวิจัยแบบมีส่วนร่วมมาสร้างแบบสอบถามที่ใช้ในการสำรวจ

                     (íí)  การทดสอบ การอธิบาย การยืนยัน การหักล้าง และ/หรือการเพิ่มค่าผลการศึกษา จากวิธี
                   การหนึ่งกับผลของอีกวิธีหนึ่ง ผลลัพธ์ของวิธีที่แตกต่างกันถูกนำมารวมกันเพื่อที่จะตรวจสอบ
                   ซึ่งกันและกันหรือตรวจสอบแบบสามเส้ากันและกัน

                         • “การอธิบาย” ได้ให้รายละเอียดการใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อที่จะระบุการ
                           ศึกษาจากผลจากการสำรวจ

                         • “การยืนยัน หรือ การหักล้าง” ได้ให้รายละเอียดจากการใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม
                           เพื่อที่จะหาความถูกต้องสมบูรณ์ของผลการวิจัยที่ขึ้นอยู่กับการสำรวจ (หรือในทาง
                           กลับกัน)

                         • “การเพิ่มค่า” ได้ให้รายละเอียดจากการใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อที่จะรับ
                           ข้อมูลของตัวแปรและคำอธิบายผลการศึกษาที่เกิดขึ้นที่ไม่ได้จากการสำรวจแบบใช้
                           แบบสอบถาม;

                     (ííí)  ผลลัพธ์รวมกันจากสองวิธีเป็นหนึ่งชุดของนโยบาย แต่ละวิธีถูกใช้แยกกันแต่นำผลลัพธ์
                   ที่ได้มาใช้อธิบายซึ่งกันและกันเพื่อประโยชน์สูงสุด




               44  สถาบันคลังสมองของชาติ
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50