Page 43 -
P. 43

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



                2.4   ระเบียบวิธีศึกษาวิจัย





               2.4.1 แนวคิดการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative method)

                    และเชิงคุณภาพ (qualitative method) เพื่อศึกษาพลวัต

                    ความยากจน

                     งานวิจัยเรื่องของพลวัตความยากจนที่มีอยู่โดยส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์เชิง
               ปริมาณของชุดข้อมูลที่มีการสำรวจข้อมูลครัวเรือนซ้ำๆ หลายปี หรือข้อมูลภาคตัดขวางตามเวลา
               (panel data) ซึ่งความยากจนได้ถูกคิดให้อยู่ในรูปแบบดั้งเดิมคือ ความยากจนที่วัดจากด้าน
               รายได้หรือด้านการบริโภค (Hulme and McKay, 2007) มีงานวิจัยเพียงไม่กี่งานที่ได้ประยุกต์วิธี
               การเชิงประมาณทางสังคมศาสตร์อย่างเฉพาะตัวเพื่อที่จะศึกษาพลวัตความยากจนในระยะยาว
               โดยการศึกษาครัวเรือนหรือหมู่บ้านเดิมซ้ำๆ กัน (Van Schendel, 1981) และวิธีการมีส่วนร่วม
               (Shaffer, 2002; Krishna, 2007) อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเกี่ยวกับพลวัตความยากจนเหล่านี้จะใช้
               วิธีการเชิงคุณภาพหรือวิธีการเชิงปริมาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งได้นำไปสู่การแบ่งที่ชัดเจนระหว่าง
               ผลที่ได้จากวิธีการเชิงคุณภาพและวิธีการเชิงปริมาณ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีความเห็นที่
               สอดคล้องกันและได้มีความพยายามเพิ่มขึ้นในการที่จะเชื่อมวิธีการวิจัยสองประเภทนี้โดยใช้
               จุดแข็งในรูปแบบที่แตกต่างกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นในความซับซ้อนของพลวัตความ
               ยากจน (Lawson et al., 2007; Hulme, 2007; Addison et al., 2009) สิ่งสำคัญในการศึกษา
               พลวัตความยากจนนั้นไม่เพียงแต่จะต้องทำความเข้าใจในการศึกษาถึงรูปแบบของพลวัตและ
               ระบุว่าครัวเรือนใดอยู่ในรูปแบบใด แต่มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ

               ผลักดันให้เกิดพลวัตเหล่านี้ หรือการค้นหาคำตอบว่าเหตุใดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตของ
               ความยากจนเหล่านี้จึงเกิดขึ้น อย่างเช่นที่ Baulch และ Hoddinott (2000) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า
               การเรียนรู้ในเรื่องของกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับของชุมชนและครัวเรือน
               โดยอาศัยการนำจุดแข็งของทั้งสองวิธีมาใช้เป็นสิ่งจำเป็น กล่าวคือ จุดแข็งของวิธีการเชิงปริมาณ
               ในการวิเคราะห์ นั้นเพื่อค้นหารูปแบบของพลวัตและระบุความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ทำให้เกิดพลวัต
               นั้นๆ ในขณะที่จุดแข็งของวิธีเชิงคุณภาพสามารถอธิบายความซับซ้อนของกระบวนการและปัจจัย
               ที่เกิดขึ้นตามบริบทความเป็นจริง จึงมีความเชื่อที่ว่าการผสมผสานกันของทั้งสองวิธีสามารถก่อให้
               เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นและตอบคำถามได้ครอบคลุมมากที่สุด
                     Chambers (2007) ได้สรุประเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความยากจนว่ามี
               สามวิธีการหลัก ได้แก่









               42 สถาบันคลังสมองของชาติ
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48