Page 44 -
P. 44

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           2


                                          ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย


                             •  แนวคิดวิธีเชิงปริมาณ (quantitative methods) หรือวิธีที่เริ่มจากศึกษาทฤษฎีก่อนแล้ว
                               จึงตั้งสมมติฐานและทำการทดสอบสมมติฐานดังกล่าวเพื่อหาข้อสรุปที่จะยืนยันทฤษฎี
                               ดังกล่าว (deductive approach) ซึ่งวิธีเชิงปริมาณนี้จะวัดออกมาเป็นตัวเงิน อาทิ
                               การวัดเส้นความจน ในการวิเคราะห์และได้มาของข้อมูลความยากจนนี้ได้รับมาจาก
                               การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามที่เป็นวิธีการที่ใช้กันแพร่หลาย

                             •  แนวคิดวิธีเชิงคุณภาพ (qualitative methods) หรือวิธีมนุษยวิทยาเฉพาะอย่างซึ่ง
                               มักจะเริ่มจากการสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจงก่อนนำไปสร้างรูปแบบความ
                               สัมพันธ์แล้วทำการทดสอบสมมติฐาน เพื่อสร้างเป็นทฤษฎีในภายหลัง (inductive
                               approach) โดยทั่วไปวิธีนี้จะเกี่ยวข้องกับการพูดคุย สังเกตเพื่อที่จะได้ข้อมูลเกี่ยวกับ
                               ความสัมพันธ์ทางสังคม วัฒนธรรม และชุมชน โดยส่วนใหญ่การศึกษาความยากจน
                               ภายใต้แนวคิดนี้ได้ถูกอธิบายในแง่ของความสัมพันธ์ทางและพฤติกรรมทางสังคม
                               มากกว่าที่จะเน้นไปที่ประเด็นของคำนิยามการวัดความยากจน

                             •  แนวคิดวิธีการแบบมีส่วนร่วมโดยอาศัยความเข้าใจและมุมมองของคนจนเอง
                               (participatory methods) ในวิธีนี้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจความยากจนที่ได้จาก
                               ประสบการณ์โดยตรงของคนจน ซึ่งสะท้อนแง่คิด มุมมองและทัศนคติของคนจนเอง
                               รวมถึงความเป็นจริงของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนและความแตกต่างทาง
                               วัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่

                             งานวิจัยจำนวนมากได้กล่าวถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของสองวิธีการที่แตกต่างกันและพบว่า
                      มีขอบเขตจำกัดของการศึกษาความยากจนโดยใช้วิธีเชิงปริมาณหรือใช้วิธีเชิงคุณภาพเพียงอย่าง
                      เดียว ในระยะสิบปีที่ผ่านมา การผนวกระหว่างวิธีเชิงปริมาณและวิธีเชิงคุณภาพรวมกับปัจจัย
                      ความร่วมมือหรือ คิว-สแควร์ (q-squared)  ได้ถูกกล่าวถึงและได้รับความสนใจมากขึ้นในการ
                                                        2
                      ศึกษาวิจัยร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับความยากจน (Carvalho and White, 1997; McGee, 2000;
                      Kanbur, 2003; Appleton and booth, 2001; Parker and Kozel, 2006; Hulme, 2007) ในการ
                      ตอบสนองต่อธรรมชาติของความยากจนที่มีหลากหลายมิติ ทั้งนี้ Chambers (2007) ได้กล่าวว่า
                      วิธีการผสมหรือการรวมกันของวิธีเชิงปริมาณและวิธีเชิงคุณภาพรวมกับปัจจัยความร่วมมือได้ถูก
                      นำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในเรื่องการวิเคราะห์ความยากจน ดังจะเห็นได้จากประโยชน์ของ
                      การรวมสองวิธีนี้ซึ่งปรากฏในหลายการศึกษาของงานวิจัยด้านการประเมินความยากจนของ
                      ประเทศโดยธนาคารโลก (World Bank) รวมถึงการศึกษาเชิงประจักษ์ในหลายประเทศ ตัวอย่าง


                      2   Q-squared (quantitative and qualitative methodological approach) เป็นการผสมผสานวิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณและ
                        เชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน โดย Da Silva (2006) รวบรวมงานวิจัยที่ผ่านมาสำหรับวิธีแบบผสมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความ
                        ยากจนในประเทศที่กำลังพัฒนา
                        ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก http://www.q-squared.ca/





                                                                                             43
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49