Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย
เขียนในรูปสมการ reduced form ของรายได้สุทธิครัวเรือนเกษตร ดังสมการ (2.7)
π = F(L, V, A, K) (2.7)
แบบจำลองครัวเรือนเกษตรจึงเป็นแบบจำลองที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรายได้
สุทธิของครัวเรือนเกษตรและปัจจัยสำคัญที่กำหนดที่สำคัญ ได้แก่ แรงงาน ปัจจัยการผลิต ที่ดิน
ทุนทางการเงิน และแบบจำลองได้ถูกพัฒนาและขยายอย่างต่อเนื่อง โดย Hymer และ Resnick
(1969) รวมรายได้ที่เกิดจากภาคนอกเกษตร อาทิ การผลิตอาหารแปรรูป อุตสาหกรรม ก่อสร้าง
และขนส่งด้วย โดยทั่วไป แบบจำลองครัวเรือนเกษตรถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผล
กระทบของราคาสินค้าเกษตรต่อการผลิตและการบริโภคของครัวเรือน และผลของนโยบายเกษตร
ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การตัดสินใจใช้แรงงานภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร (Taylor and
Adelman, 2002)
2.3.2 ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงทางรายได้ของครัวเรือน
(household income diversification determinants)
แบบจำลองครัวเรือนเกษตรยังเป็นแบบจำลองที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัย
กำหนดการเปลี่ยนแปลงของรายได้ครัวเรือนในชนบทอีกด้วย (Singh et al, 1986; Escobal,
2001) Escobal (2001) ได้ศึกษาปัจจัยกำหนดรายได้ของครัวเรือนชนบทในประเทศเปรู และเห็น
ถึงแนวโน้มความสำคัญของนอกภาคการเกษตรที่มีมากขึ้น จึงได้พัฒนาแบบจำลองที่ใช้ในการ
ศึกษาโดยคำนวณหาดุลยภาพจากสมการแรงงานเพื่อจัดสรรแรงงานระหว่างภาคเกษตรและภาค
นอกเกษตร โดยกำหนดสมการในรูป reduced form ดังสมการ (2.8)
Sij = f(p; Zag, Znag, Zk, Zh, Zpu, Zg) (2.8)
โดย Sij คือ สัดส่วนรายได้สุทธิภาคเกษตรและนอกเกษตร p คือ เวกเตอร์ราคาปัจจัยและ
ผลผลิต Z คือ เวกเตอร์แสดงสินทรัพย์ต่างๆ ที่ครัวเรือนครองครอง ดังนี้ Zag คือ สินทรัพย์
ภาคเกษตร Znag คือ สินทรัพย์ภาคนอกเกษตร Zk คือ สินทรัพย์ทางการเงิน Zh คือ สินทรัพย์ทุน
มนุษย์ Zpu คือ สินทรัพย์ทุนกายภาพ Zg คือ สินทรัพย์อื่นๆ ในพื้นที่
รูปแบบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีผลต่อรายได้ครัวเรือนเป็นการพัฒนามาจากกรอบ
แนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืนในหัวข้อ 2.2.1 โดยหลายการศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยกำหนด
รายได้ครัวเรือนในชนบทได้อ้างอิงรูปแบบสมการข้างต้น ทั้งในรูปของการตัดสินใจของครัวเรือน
เพื่อหารายได้ ระดับรายได้จากแหล่งรายได้ภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร และสัดส่วนของ
รายได้
41