Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน

























                                                             ที่มา: Carney, DFID (1991)

                     ภาพที่ 2.1 แนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (sustainable livelihoods approach)




               2.2.2 การนำกรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืนมาปรับใช้เป็นกรอบ
                    การวิเคราะห์ของงานวิจัยพลวัตความยากจน


                     งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพลวัตความยากจนของครัวเรือนชาวนาใน
               พื้นที่ชนบท โดยต้องการทำความเข้าใจถึงลักษณะพลวัตของความยากจนว่ามีลักษณะอย่างไร
               การเข้าสู่และการออกจากความยากจนมีสาเหตุมาจากปัจจัยใดเป็นสำคัญ ซึ่งการศึกษาพลวัต
               ความยากจนนี้ไม่เพียงแต่จะต้องทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของรายได้ ว่ารายได้สูงกว่า
               หรือต่ำกว่าเส้นความยากจนเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นที่จะครอบคลุมการศึกษาวิจัยในรายละเอียดที่
               เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตและประสบการณ์การดำรงชีพของแต่ละครัวเรือนว่าเกิดขึ้นมา
               อย่างไร มีลักษณะอย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นจริงของชีวิต
               ครัวเรือนในชนบทได้ดีขึ้นกว่าการวิเคราะห์ทางด้านปริมาณหรือตัวเลขรายได้เพียงอย่างเดียว
               ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงเลือกใช้กรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืนเป็นกรอบแนวคิดหลักใน
               การวิเคราะห์ เนื่องจากกรอบแนวคิดดังกล่าวนี้สามารถอธิบายกระบวนการหรือพลวัตการ
               เปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในชนบทได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือ
               เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงหรือพลวัตของความยากจน
               นอกจากนี้ งานวิจัยพลวัตความยากจนนี้ยังอาศัยแนวคิดทรัพยากรพื้นฐาน (resource profile)











               36 สถาบันคลังสมองของชาติ
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42