Page 40 -
P. 40

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           2


                                          ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย


                      ให้เกิดพลวัตความยากจนนั้น จะต้องทำความเข้าใจทฤษฎีพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาปัจจัย
                      กำหนดรายได้ครัวเรือน ได้แก่ (1) แบบจำลองครัวเรือนเกษตร (agricultural household model)
                      และ (2) สมการปัจจัยกำหนดรายได้ (income determination function)



                      2.3.1 แบบจำลองครัวเรือนเกษตร (agricultural household model)


                             แบบจำลองครัวเรือนเกษตรถูกนำมาใช้ในการศึกษาลักษณะเชิงโครงสร้างและแนวโน้ม
                      การเปลี่ยนแปลงของครัวเรือนเกษตร โดยรากฐานทางทฤษฎีดังกล่าวนี้เริ่มต้นพัฒนามาจาก
                      แนวคิดของชยานอฟ (Chayanov) ที่ศึกษาเกี่ยวกับครัวเรือนเกษตรในประเทศรัสเซียในช่วง
                      ทศวรรษปี 2460 ซึ่งได้กล่าวโดยสรุปว่าขนาดครัวเรือนและลักษณะโครงสร้างของครัวเรือนเป็น
                      ปัจจัยสำคัญในการกำหนดการตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรภายในครัวเรือนภายใต้เงื่อนไข
                      ไม่มีตลาดแรงงาน (Ellis, 1988) แบบจำลองครัวเรือนเกษตรถูกพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อศึกษา
                      ผลการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าพืชผลหลัก โดยพบว่าการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลอาหารนั้นไม่
                      จำเป็นต้องส่งผลกระทบต่อส่วนเกินในตลาด ซึ่งสามารถอธิบายได้จากพฤติกรรมของครัวเรือนใน
                      ชนบทที่มีลักษณะกึ่งการค้า (semi-commercial rural context) ซึ่งผลิตพืชผลสำหรับบริโภค
                      ภายในครัวเรือนเองส่วนหนึ่งและอีกส่วนเพื่อขาย (Singh et al., 1986) แบบจำลองดังกล่าว
                      กำหนดให้ครัวเรือนเป็นหน่วยในการตัดสินใจผ่านสมการอรรถประโยชน์ โดยอรรถประโยชน์สูงสุด
                      จะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านตลาดแรงงาน นั่นคือต้องมีการจ้างงานเกิดขึ้น สมาชิกในครัวเรือนอาจได้รับ
                      ค่าจ้างแรงงานที่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกันราคาสินค้าก็แตกต่างกัน และภาคเกษตรไม่ใช่แหล่ง
                      ที่มาของรายได้แหล่งเดียวอีกต่อไป โดยสรุปคืออรรถประโยชน์ของครัวเรือนเกษตรไม่ใช่เกิดขึ้น
                      จากการทำกำไรสูงสุดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความมั่นคงทางอาหารและเวลาว่างของครัวเรือน
                      อีกด้วย

                             แบบจำลองครัวเรือนเกษตรประกอบด้วยสมการอรรถประโยชน์ซึ่งกำหนดโดยการบริโภค
                      ของสมาชิกภายในครัวเรือน และข้อจำกัดของงบประมาณซึ่งรวมการผลิตอยู่ในสินทรัพย์ครัวเรือน
                      (Singh et al., 1986; Ellis, 1988)

                             สมการอรรถประโยชน์โดยรวมของครัวเรือนเกษตร (2.1) ได้แก่

                             U = U(Xa, Xm, Xl)                                         (2.1)

                             โดยที่ Xa คือ การบริโภคสินค้าเกษตรที่ผลิตในครัวเรือน Xm คือ การบริโภคสินค้าอื่นๆ ที่
                      ซื้อขายในตลาด และ Xl คือเวลาว่าง









                                                                                             39
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45