Page 38 -
P. 38
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย
ที่ให้ความสำคัญต่อการทำความเข้าใจในโครงสร้างและกระบวนการได้มาหรือการเข้าถึง
ทรัพยากร เพื่อนำไปใช้ดำรงชีพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตความเป็นอยู่
และนำไป สู่การเกิดพลวัตของความยากจนในที่สุด
แนวทางการวิเคราะห์ของงานวิจัยชิ้นนี้ได้ประยุกต์หลักการของกรอบแนวคิดการดำรง
ชีพอย่างยั่งยืน โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของคำถามสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) คนครอบครองอะไร
(สินทรัพย์ต่างๆ) หรือ “Have” (2) คนนำสิ่งที่ครอบครองอยู่ไปทำอะไร (กิจกรรม/ยุทธวิธีในการ
ดำรงชีพ) หรือ “Do” (3) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร (ลักษณะความเป็นอยู่ ระดับรายได้ และ
การเปลี่ยนแปลงของความยากจน) หรือ “Be” โดยเรียกกรอบการวิเคราะห์นี้ว่า “Have-Do-Be
approach”
• สินทรัพย์ต่างๆ ที่ครอบครองประกอบด้วยอะไร (“Have”) งานวิจัยนี้เริ่มศึกษาถึง
สินทรัพย์ต่างๆ ที่สำคัญเพื่อใช้ในการดำรงชีพที่แต่ละครัวเรือนครอบครอง โดยดูว่า
ประกอบด้วยสินทรัพย์ใดบ้างและมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในระหว่างช่วงเวลา
ที่ทำการศึกษา
• กิจกรรมหรือยุทธวิธีการดำรงชีพคืออะไร (“Do”) ภายหลังจากศึกษาถึงสินทรัพย์ที่
แต่ละครัวเรือนครอบครองแล้ว ก็จะพิจารณาว่าแต่ละครัวเรือนได้นำสินทรัพย์ต่างๆ
มาใช้ในดำเนินกิจกรรมหรือยุทธวิธีการดำรงชีพอย่างไร ซึ่งในที่นี้จะศึกษาจาก (1)
รูปแบบการประกอบอาชีพ ว่าสมาชิกในครัวเรือนมีการเปลี่ยนแปลงในด้านอาชีพ
อย่างไร อาทิเช่น มีแนวโน้มของการเปลี่ยนจากการทำเกษตรกรรมไปประกอบอาชีพ
นอกภาคเกษตรกรรมมากน้อยแค่ไหน (2) องค์ประกอบด้านรายได้ และความหลาก
หลายของแหล่งที่มาของรายได้ครัวเรือน (3) ลักษณะโครงสร้างสมาชิกภายในครัวเรือน
• ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อวิถีความเป็นอยู่ (“Be”) การเลือกดำเนินแนวทางการดำรงชีพของ
แต่ละครัวเรือนจะสะท้อนออกมาได้ในหลายรูปแบบ อาทิ การมีรายได้เพิ่มขึ้นความ
เป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความเปราะบางต่อความเสี่ยงหรือความผันผวนลดลงสำหรับงานวิจัยนี้
พิจารณาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากลักษณะความเป็นพลวัตของความยากจนว่าครัวเรือนมี
รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของสถานะความยากจนอย่างไรในช่วงเวลาของการศึกษาคือ
ปี 2531 เทียบกับปี 2553 โดยแบ่งลักษณะพลวัตความยากจนออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
(1) กลุ่มไม่เคยจน (Non-poor Non-poor) (2) กลุ่มเข้าสู่ความยากจน (Non-poor
➝
➝ Poor) (3) กลุ่มหลุดพ้นจากความยากจน (Poor Non-poor) และ (4) กลุ่มที่ยัง
➝
คงยากจน (Poor Poor)
➝
37