Page 36 -
P. 36
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย
ยุทธวิธีการดำรงชีพ (livelihoods strategies) เป็นทางเลือก โอกาส ที่ใช้เป็นกลยุทธ์
ในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีลักษณะของความหลากหลาย (diversity) ตามลักษณะ
พื้นที่ ภูมิประเทศ ที่ถือครอง และช่วงเวลา เป็นลักษณะที่เคลื่อนไหว (dynamic)
กระจายหลายสถานที่ (straddling) และเชื่อมโยง (linkage)
ผลลัพธ์ (livelihood outcome) เป็นผลที่เกิดจากการเลือกวิถี หรือยุทธวิธีในการ
ดำเนินชีวิตซึ่งแสดงออกถึงการดำรงชีพอย่างยั่งยืน ได้แก่ การมีรายได้เพิ่มขึ้น (more
income) ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (increased well-being) ความเปราะบางต่อความเสี่ยง
หรือความผันผวนลดลง (reduced vulnerability) ความมั่นคงด้านอาหารเพิ่มขึ้น
(improved food security) และการเกิดความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
(sustainable use of natural resource based)
จากภาพที่ 2.1 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ภายใต้แนวคิดการดำรงชีพ
อย่างยั่งยืนนั่นคือ ทรัพย์สิน (livelihoods assets) เป็นองค์ประกอบหลักอันดับแรกที่จำเป็นในการ
ดำรงชีพ หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นต้นทุนที่เกษตรกรนำมาใช้ในกระบวนการดำรงชีพ การเปลี่ยนแปลง
ฐานะของทรัพย์สินจะได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้าง และกระบวนการ
(transforming structures and processes) ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของบริบทความอ่อนแอ
(vulnerability context) ที่เกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นกระบวนการหนึ่งที่
ทำให้เกิดภาวะแนวโน้มสินค้าต้นทุนการผลิตราคาสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรต้องใช้เงินลงทุนใน
การผลิตมากขึ้น ส่งผลให้ฐานะทางการเงินของเกษตรกรลดต่ำลง และมีผลต่อเนื่องไปยังโอกาส
การเลือกกลยุทธ์การดำรงชีพ (livelihoods strategies) หรือการเลือกวิธีการผลิตให้เหมาะสมกับ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น หากเกษตรกรมีกลยุทธ์หรือมีการปรับปรุงการผลิตที่เหมาะสมกับสถานการณ์
ที่เกิดขึ้น ระบบก็จะยังคงให้ผลลัพธ์ (livelihood outcome) ในระดับที่สมดุลกับความต้องการ
และผลลัพธ์ที่ได้นี้จะส่งผลโดยตรงต่อระดับของทรัพย์สินที่เกษตรกรจะนำมาใช้เป็นต้นทุนใน
การดำรงชีพต่อไป
35