Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



                       สำหรับองค์ประกอบของการดำรงชีพอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ
                 5 ประการ กล่าวคือ

                        ทรัพย์สินในการดำรงชีพ (livelihoods assets) เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ หรือ
                     
                        อีกนัยหนึ่งคือเป็นต้นทุนในกระบวนการดำรงชีพ ได้แก่

                       •  ทุนมนุษย์ (human capital) หมายถึง ทักษะ ความรู้ ความสามารถด้านแรงงาน
                          คุณภาพแรงงาน ศักยภาพการเป็นผู้นำ และความมีสุขภาพดี

                       •  ทุนธรรมชาติ (natural capital) หมายถึง ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ ความหลากหลาย
                          ทางชีวภาพ

                       •  ทุนการเงิน (financial capital) หมายถึง เงินสะสมที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
                          และเงินไหลเวียน

                       •  ทุนกายภาพ (physical capital) หมายถึง สิ่งอำนวยความสะดวก โครงสร้างพื้นฐาน
                          และเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต

                       •  ทุนสังคม (social capital) หมายถึง กลุ่ม เครือข่าย ประชาสังคม การเป็นสมาชิก

                          รวมถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม
                          การเปลี่ยนผ่านโครงสร้างและกระบวนการ (transforming structures and processes)
                        เป็นองค์ประกอบที่มีผลกระทบโดยตรง  และส่งผลต่อการเลือกวิถีการดำรงชีพ
                        ประกอบด้วย  2  ส่วนย่อยคือ  โครงสร้าง  (structures)  มี  2  ระดับคือ  ระดับ
                        สาธารณะ และระดับเอกชน เช่น รัฐบาล องค์กร ประชาสังคม และ กระบวนการ
                        (processes)  หมายถึง  ส่วนขับเคลื่อนของโครงสร้าง  เช่น  นโยบาย  กฎหมาย
                        ข้อกำหนด สถาบัน และวัฒนธรรม

                        องค์ประกอบด้านบริบทของความผันผวนและความไม่แน่นอน (vulnerability context)
                        เป็นภาวะที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบโดยตรงต่อทรัพย์สิน และผลลัพธ์จากวิถีการ
                        ดำเนินชีวิต ได้แก่ภาวะความเสี่ยงหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด (shocks)
                        เช่น ภัยธรรมชาติ การขาดเงินใช้จ่าย ความขัดแย้งในสังคม ปัญหาสุขภาพมนุษย์
                        พืช สัตว์แนวโน้ม (trends) ภาวะแนวโน้มของการเคลื่อนไหวของปัจจัยต่างๆ เช่น
                        แนวโน้มประชากร ทรัพยากร เศรษฐกิจ รัฐบาล นโยบาย และเทคโนโลยีการ
                        เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (seasonality) ได้แก่ วัฏจักรต่างๆ เช่น วัฏจักรราคา ผลผลิต
                        สุขภาพ โอกาสการจ้างงาน เป็นต้น










               34 สถาบันคลังสมองของชาติ
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40