Page 30 -
P. 30
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย
แบบเรื้อรังส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก (1) การขาดแคลนสินทรัพย์หรือมีสินทรัพย์ในระดับต่ำ เช่น
ทุนมนุษย์ (การศึกษา) และทุนกายภาพ (ที่ดิน) (2) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีประสิทธิผลต่ำ
(3) สัดส่วนการพึ่งพิงในครัวเรือนสูง และ (4) ที่อยู่อาศัยอยู่ห่างไกลจากความเจริญหรือพื้นที่
แร้นแค้น ในขณะที่ ความยากจนแบบครั้งคราวมักเกิดจากการที่ครัวเรือนไม่สามารถรับมือกับ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผันผวนของปัจจัยต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน เช่น
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนสินทรัพย์ หรือ ผลจากความเจ็บป่วยของสมาชิกใน
ครัวเรือนซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ของครัวเรือน เป็นต้น
(2) การเข้าสู่ความยากจน (move into poverty) และการออกจากความ
ยากจน (move out of poverty)
ประเภทของความยากจนยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยลงไปอีก กล่าวคือ ความ
ยากจนครั้งคราว สามารถแบ่งออกได้เป็นการเข้าสู่ความยากจน และการออกจากความยากจน
ซึ่งปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเข้าและออกจากความยากจนก็แตกต่างกัน Krishna และคณะ
(2006) กล่าวไว้ว่านโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนไม่เพียงแต่จะให้ความสำคัญต่อผู้ที่
ยากจนอยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องคำนึงถึงผู้ที่มีโอกาสจะก้าวเข้าสู่ความยากจนด้วยในอนาคตด้วย
Narayan และ Petesch (2007) ก็ได้เน้นย้ำความสำคัญของการศึกษาวิจัยในอนาคตที่ควรเน้นหา
คำตอบเกี่ยวกับปัจจัยและกระบวนการของพลวัตความยากจนทั้งความยากจนเรื้อรังและความ
ยากจนครั้งคราว ซึ่งยังขาดคำอธิบายที่ชัดเจน ส่วนหนึ่งเนื่องจากข้อจำกัดของการมีข้อมูล panel
data โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลระยะยาว
Dercon และ Shapiro (2007) ได้รวบรวมและทบทวนงานวิจัยเพื่อศึกษาเกี่ยวกับพลวัต
ความยากจนบนฐานข้อมูล panel data ของประเทศกำลังพัฒนาจำนวน 30 ประเทศ พบว่าปัจจัย
ที่ช่วยให้คนออกจากความยากจนจะเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่ครัวเรือนถือครอง อาทิ ที่ดิน ทุน
มนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐาน ในขณะที่ปัจจัยที่ทำให้คนเข้าสู่ความยากจนส่วนใหญ่จะเป็น
ผลกระทบของ shocks ที่เกิดขึ้น
ในหลายการศึกษาเกี่ยวกับพลวัตความยากจนได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เข้ามา
ช่วยอธิบายปัจจัยที่ได้จากวิธีวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ ยกตัวอย่างเช่น Sen (2003) ได้ศึกษา
พลวัตความยากจนในประเทศบังคลาเทศระหว่างปี 1987 และ 2000 โดยอาศัยการผสมผสาน
ระหว่างการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูล panel data และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาแสดงว่า
การออกจากความยากจนมีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ที่ถือครองเบื้องต้นและความสามารถในการ
สะสมสินทรัพย์ในระยะต่อมา ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิตความเป็นอยู่ของ
29