Page 29 -
P. 29
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
2.1.3 ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดพลวัตความยากจน
(1) ความยากจนเรื้อรัง (chronic poverty) และความยากจนครั้งคราว
(transient poverty)
นอกเหนือจากการศึกษาถึงลักษณะและประเภทของพลวัตความยากจนแล้วสิ่งที่สำคัญ
ที่สุดอีกประการหนึ่งที่จะต้องทำการศึกษาคือปัจจัยหรือสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดพลวัตความ
ยากจน ทำไมบางครัวเรือนถึงสามารถก้าวออกจากความยากจนได้ และบางครัวเรือนกลับเข้าสู่
ความยากจนเมื่อเวลาผ่านไป ในขณะที่บางครัวเรือนยังคงอยู่ในความยากจนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้
แต่ละประเภทของความยากจนก็มีปัจจัยหรือสาเหตุที่กำหนดแตกต่างกันออกไป (Baulch and
Hoddinott, 2000; McKay and Lawson, 2002) ซึ่งจะส่งผลต่อการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไข
ปัญหาที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ประเภทของความยากจนยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ศึกษาด้วย
ความยากจนเรื้อรังมักจะสะท้อนถึงความอดอยากหรือขาดแคลนสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีพใน
ระยะยาว ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุของความยากจนดังกล่าวจะเป็นผลมาจากการเคลื่อน
ย้ายหรือการเปลี่ยนรูปแบบทางเศรษฐกิจ (economic mobility) และกระบวนการที่ทำให้ความ
เป็นอยู่ของครัวเรือนเปลี่ยนแปลงไป (changing livelihoods) ในทางกลับกัน ความยากจนแบบ
ครั้งคราวจะเกิดจากปัจจัยระยะสั้นหรือปัจจัยที่ไม่คาดคิด
Baulch และ Hoddinott (2000) ระบุว่าปัจจัยที่กำหนดพลวัตความยากจนของครัวเรือน
ในระยะยาว ประกอบด้วย 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ (1) การสะสมสินทรัพย์ (2) สินทรัพย์เบื้องต้นที่
ถือครอง (3) การเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนของสินทรัพย์ (4) ผลกระทบในระยะยาวจากเหตุการณ์
ไม่คาดคิด (shocks) โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความยากจนเรื้อรังมักจะเกิดจากการถือครองสินทรัพย์
ในระดับต่ำ ในขณะที่ปัจจัยที่ก่อให้เกิดพลวัตความยากจนในระยะสั้นหรือความยากจนแบบครั้ง
คราวส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับความเปราะบางของครัวเรือนหรือการที่ครัวเรือนไม่มีความ
สามารถในการแก้ไขและรับมือกับ shocks และความเสี่ยงต่างๆ และส่งผลให้ไม่สามารถปรับ
ระดับการบริโภคให้คงที่ได้ ในการศึกษาพลวัตความยากจนของครัวเรือนชนบทในประเทศจีน
Jalan และ Ravillion (2000) พบว่าลักษณะและองค์ประกอบของครัวเรือน การศึกษา และภาวะ
สุขภาพของสมาชิกในครัวเรือนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลให้เกิดความยากจนเรื้อรัง แต่ไม่มีผลต่อ
ความยากจนแบบครั้งคราวที่เกิดจากปัจจัย shocks ต่างๆ และความผันผวนของรายได้ เป็นต้น
จากการทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพลวัตความยากจนในหลายๆ
ประเทศ McKay และ Lawson (2002) ก็แสดงผลการศึกษาที่ยืนยันเช่นเดียวกันถึงความแตกต่าง
ของปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนแบบเรื้อรังและความยากจนแบบครั้งคราว โดยความยากจน
28 สถาบันคลังสมองของชาติ