Page 27 -
P. 27

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



                     การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะพลวัตของความยากจนถือว่ามีความสำคัญ
               อย่างมากต่อการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เนื่องจากแต่ละประเภทความ
               ยากจนหรือแต่ละกลุ่มของคนจนมีความต้องการความช่วยเหลือทางด้านนโยบายที่แตกต่างกัน
               ออกไป นโยบายเพื่อแก้ไขความยากจนแบบครั้งคราวก็จะแตกต่างจากนโยบายเพื่อความยากจน
               แบบเรื้อรัง (Grootaert et al, 1995; McCulloch and Baulch, 2000) ยกตัวอย่างเช่น หาก
               ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ตกอยู่ในความยากจนระยะยาวหรือแบบเรื้อรัง (chronic poor) จะต้อง
               ได้รับความช่วยเหลือด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงหรือปฏิรูปโครงสร้างที่ช่วยในการ
               ประกอบอาชีพและส่งเสริมการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ต่างๆ ในระยะยาว เช่น นโยบายปรับปรุง
               โครงสร้างการกระจายรายได้และการลงทุนในสินทรัพย์ทางโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยสนับสนุนการ
               เข้าถึงบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสุขภาพ การศึกษา และสาธารณูปโภคต่างๆ ในขณะที่
               หากประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ที่เผชิญกับความยากจนแบบเป็นครั้งคราว (transient poor)
               เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางครัวเรือนหรือได้รับผลกระทบจากการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่
               คาดคิด (shocks) ก็จะต้องได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายที่ช่วยป้องกันการเกิดความผันผวน
               ระยะสั้นที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น นโยบายคุ้มครองทางสังคม การสนับสนุนด้านสินเชื่อ การให้หลัก
               ประกันในการประกอบอาชีพ เป็นต้น

                     จากการรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับพลวัตความยากจนในประเทศกำลังพัฒนาเท่าที่มีอยู่
               ทั้งหมด Baulch และ Hoddinott (2000) ระบุว่าจากการศึกษาทั้งหมด 10 ประเทศ โดยอาศัยการ
               วิเคราะห์ข้อมูลภาคตัดขวางตามเวลา (panel data) ส่วนใหญ่แล้วพบว่าจำนวนของผู้ที่เผชิญ
               ปัญหาความยากจนแบบครั้งคราว หรือผู้ที่เข้าและออกจากความยากจนมีมากกว่าจำนวนของผู้ที่
               อยู่ในความยากจนแบบเรื้อรัง การรวบรวมของ McKay และ Lawson (2002) ก็ระบุแนวโน้ม
               ดังกล่าวเช่นเดียวกัน

                     McCulloch และ Baulch (2000) ทำการศึกษาพลวัตความยากจนในประเทศปากีสถาน
               และรายงานผลว่าในแต่ละปีจะมีสัดส่วนคนจนประมาณร้อยละ 30 แต่สัดส่วนของผู้ที่ออกจาก
               และเข้าสู่ความยากจนมีสูงกว่านั้น โดยคิดเป็นครึ่งหนึ่งของครัวเรือนทั้งหมด ขณะที่ผู้ที่อยู่ในความ
               ยากจนเรื้อรัง มีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น แนวโน้มดังกล่าวได้รับการยืนยันเช่นกันจากผลการศึกษา
               ของ Justino และ Litchfield (2004) ที่ศึกษาพลวัตความยากจนในประเทศเวียดนาม พบว่าผล
               จากการปรับโครงสร้างทางการค้าของประเทศ ทำให้สัดส่วนครัวเรือนที่ยากจนมีแนวโน้มลดลง
               อย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 1992 และ 1997 จากร้อยละ 60 เหลือเพียงร้อยละ 37 อย่างไรก็ดี
               พบว่าสัดส่วนของผู้ที่เข้าสู่และออกจากความยากจนกลับมีอัตราที่สูงมากคิดเป็นประมาณร้อยละ
               32 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยร้อยละ 27 เป็นสัดส่วนครัวเรือนที่สามารถหลุดพ้นหรือออกจาก
               ความยากจนได้ ในขณะที่ร้อยละ 5 เป็นครัวเรือนที่เข้าสู่ความยากจน ส่วนร้อยละ 30 เป็น
               ครัวเรือนยากจนเรื้อรัง จากการทบทวนงานวิจัยล่าสุด โดย Dercon และ Shapiro (2007) ซึ่ง
               รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับพลวัตความยากจนของประเทศกำลังพัฒนาไว้ทั้งสิ้นประมาณ 15






               26 สถาบันคลังสมองของชาติ
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32