Page 31 -
P. 31
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
ครัวเรือน อาทิเช่น การกระจายแหล่งที่มาของรายได้จากหลากหลายทาง การเปลี่ยนอาชีพทำนา
ไปประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรมากขึ้น และการอพยพย้ายถิ่น ผลจากการศึกษาดังกล่าวนี้
สอดคล้องกับรายงานของธนาคารโลกประจำปี 2008 ที่วิเคราะห์ปัจจัยที่ช่วยให้คนออกจาก
ความยากจน ประกอบด้วย 3 แนวทาง คือ การสร้างความหลากหลายในการเพาะปลูก
การประกอบอาชีพนอกภาคเกษตร และการอพยพย้ายถิ่น (World Bank, 2008)
ในเอกสารที่นำเสนอนี้ ได้รวบรวมปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าและออกจากความ
ยากจน โดยเลือกกรณีของประเทศกำลังพัฒนาที่มีช่วงระยะเวลาการศึกษาค่อนข้างยาว (มากกว่า
5 ปีขึ้นไป) เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ชัดเจน จากผลการศึกษาพบว่า โดยส่วน
ใหญ่ปัจจัยที่มีผลต่อการออกจากความยากจนได้แก่ ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่
ครัวเรือนถือครอง อาทิ ที่ดิน การศึกษา การประกอบอาชีพ ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้า
สู่ความยากจนส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ไม่คาดคิดมาก่อน อาทิ การเจ็บป่วย และอุบัติภัยทาง
ธรรมชาติ กล่าวโดยรวมคือ เหตุผลหรือปัจจัยที่อธิบายการออกจากความยากจนมีมากกว่าเมื่อ
เทียบกับจำนวนปัจจัยที่อธิบายการเข้าสู่ความยากจน (ตารางที่ 2.2)
ตารางที่ 2.2 ตัวอย่างการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่อธิบายการเข้าและออกจากความยากจน
ของครัวเรือนในประเทศกำลังพัฒนา
ปัจจัยที่มีผลต่อการ ปัจจัยที่มีผลต่อการ
ที่มา ประเทศ ปีที่ศึกษา วิธีวิจัย
ออกจากความยากจน เข้าสู่ความยากจน
Scott and ชิลี 1968- • Ordered • จำนวนที่ดินถือครอง • รายได้ต่อหัวปีที่
Litchfield 1986 logit model อายุหัวหน้าครัวเรือน เริ่มต้นศึกษา
• Probit ปีการศึกษาเฉลี่ยของ • การสูญเสียปศุสัตว์
regression ผู้ทำงานในครัวเรือน
model • การสะสมที่ดิน
การถือครองปศุสัตว์
อัตราการพึ่งพิง
• อายุหัวหน้าครัวเรือน
การสะสมที่ดินและ
การถือครองปศุสัตว์
30 สถาบันคลังสมองของชาติ