Page 26 -
P. 26
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย
อย่างมากต่อการกำหนดนิยามความยากจนได้แก่ งานของ Amartya Sen นักเศรษฐศาสตร์รางวัล
โนเบล ปี 1999 หรือ พ.ศ. 2542 ที่ได้เสนอแนวคิดเรื่องความยากจนในกรอบที่กว้างกว่ามุมมอง
ด้านรายได้ในการยังชีพเท่านั้น โดยให้ความสำคัญต่อการให้คุณค่าของคนในแต่ละสังคม
(capabilities) ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ (functions) และมีเสรีภาพในการ
เลือกที่จะทำหรือเลือกที่จะเป็น (freedom) เพื่อบรรลุเป้าหมายของการดำรงชีวิตอยู่ (Sen, 1993)
ความหมายของความยากจนในปัจจุบันจึงได้ครอบคลุมองค์ประกอบต่างๆ มากขึ้นเพื่อ
สะท้อนให้เห็นถึงความขัดสนของบุคคลในแต่ละสังคมในมิติที่แตกต่างกันออกไป ดังที่ปรากฏอยู่
ในคำนำของรายงานความยากจนของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาติ (UNDP) ปี 1997
ที่ระบุความหมายของความยากจน ดังนี้
“ความยากจน หมายถึง ความขัดสนในโอกาสและทางเลือกของมนุษย์ที่จะนำไปสู่การ
ดำรงชีวิตที่ยืนยาว สุขภาพแข็งแรง และทำให้ไม่สามารถไปสู่มาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีได้
นอกจากนี้ยังรวมถึงความขัดสนทางเสรีภาพ ความมีศักดิ์ศรี การให้เกียรติตัวเองและผู้อื่น ความ
ยากจนยังสะท้อนถึงความไม่เพียงพอในทรัพยากรต่างๆ ความเปราะบางต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
โดยไม่ได้คาดคิด อาทิ ความเจ็บป่วย ความรุนแรง และความสูญเสียต่างๆ รวมทั้งการขาดอำนาจ
ต่อรองและขาดศักยภาพในการเรียกร้องสิทธิ ทั้งสิทธิทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจในการ
ดำรงอยู่ในสังคมและประเทศนั้นๆ”
2.1.2 ลักษณะของพลวัตความยากจน
พลวัตความยากจนตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงพื้นฐานที่ว่าคนจนไม่ได้จนในระดับที่คงที่ตลอด
เวลา เมื่อเวลาผ่านไป บุคคลหรือครัวเรือนสามารถเผชิญปัญหาความยากจนได้ในหลายรูปแบบ
อาทิเช่น ผู้ที่เผชิญกับความยากจนในปีนี้ บางคนอาจไม่ได้เป็นคนจนในปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป หรือ
บางคนอาจยังคงอยู่ในความยากจนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ที่ไม่ได้เป็นคนจน อาจตกเข้าสู่ความ
ยากจนได้เมื่อเวลาผ่านไปก็เป็นได้ ทั้งนี้ ความยากจนจึงสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นได้ทั้งจนระยะ
สั้น ระยะยาว จนแบบชั่วคราวหรือแบบเรื้อรัง เป็นต้น (Yaqub, 2000) งานวิจัยที่รวบรวมผลการ
ศึกษาเกี่ยวกับพลวัตความยากจนโดยส่วนใหญ่แบ่งประเภทของความยากจนออกเป็น 4 กลุ่ม
ใหญ่ (Hulme et al, 2007) ได้แก่
• กลุ่มไม่เคยยากจน (never poor)
• กลุ่มยากจนเป็นครั้งคราว (transient poor/ sometimes poor) (กลุ่มที่เคยจนแต่
สามารถออกจากความยากจนได้ (moving out of poverty)
• กลุ่มที่เพิ่งเข้าสู่ความยากจน (moving into poverty)
• กลุ่มยากจนถาวรหรือเรื้อรัง (always poor/ Chronic poor)
25