Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1
บทนำ
ยากจนในภาพรวม โดยอาศัยการเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บในแต่ละปีแต่ไม่ได้ติดตามครัวเรือนเดิม
ทั้งหมด (cross-sectional data) ส่งผลให้การวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะอธิบายใน
ลักษณะเชิงพลวัตได้ว่าใครที่สามารถก้าวพ้นความยากจน ใครที่เข้าสู่ความยากจน หรือยังตกอยู่
ในความยากจน รวมทั้งปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การศึกษาเกี่ยวกับพลวัต
ความยากจนจะสามารถช่วยแจกแจงความแตกต่างและอธิบายประเด็นดังกล่าวได้
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญต่อดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อให้เกิดความ
เข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลวัตของความยากจน รวมทั้งกระบวนการและปัจจัย
ที่ทำให้เกิดพลวัตของความยากจน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทเรียนจากกรณีศึกษาประเทศไทย
ในฐานะเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จในการลดความยากจน ซึ่งจะทำให้
เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้มากขึ้นถึงสาเหตุของการทำให้ความยากจนลดลง ซึ่งสามารถ
พิจารณาได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเพราะสามารถทำให้คนจนออกจากความยากจนได้มากขึ้น
สามารถดูแลป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่คนจะกลับเข้าสู่ความยากจน หรือสามารถลดความ
รุนแรงของระดับความยากจนลงได้
1.3 คำถามวิจัยในเรื่องนี้
การศึกษาในเรื่องมีคำถามวิจัยหลักที่ว่า “อะไรเป็นปัจจัยที่อธิบายการเกิดพลวัตความ
ยากจนของครัวเรือนในชนบทไทย ทั้งพลวัตการเข้าและออกจากความยากจน และความ
ยากจนเรื้อรัง” โดยมีส่วนของคำถามย่อยๆ ประกอบด้วย
• รูปแบบพลวัตความยากจนของครัวเรือนในชนบทไทยมีลักษณะอย่างไรในช่วงยี่สิบปี
ที่ผ่านมาโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย
• อะไรเป็นสาเหตุหรือปัจจัยกำหนดพลวัตความยากจน ประกอบด้วย ปัจจัยใดที่ทำให้
ครัวเรือนสามารถออกจากความยากจนได้ ปัจจัยใดที่ทำให้ครัวเรือนตกสู่ความยากจน
และปัจจัยใดที่ทำให้ครัวเรือนยังคงอยู่ในความยากจน
• การใช้การผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณจากแบบสอบถามและวิธีวิจัยเชิง
คุณภาพจากการสัมภาษณ์ประวัติชีวิตให้ผลสอดคล้องกันหรือไม่ สนับสนุน หรือ
ขัดแย้งกันหรือไม่ อย่างไร
21