Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1
บทนำ
ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ตั้งอยู่บนเหตุผลและความจำเป็นพื้นฐานสำคัญสองประการ ประการแรก
ได้แก่ การเล็งเห็นลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของความยากจนว่ามีความเป็นพลวัต (dynamics)
และมีความหลากหลายทางมิติ (multi-dimensions) ประการที่สองได้แก่ การให้ความสำคัญ
ต่อการวิเคราะห์พลวัตของความยากจนโดยใช้กรณีศึกษาในประเทศไทย
1.2.1 ความจำเป็นในการศึกษาเกี่ยวกับพลวัตความยากจน
ความพยายามในการลดความยากจนถือเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญในหลาย
ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งการลดความยากจนได้ถูกรวมเป็นวัตถุประสงค์
หลักของแผนพัฒนาประเทศในประเทศกำลังพัฒนา และเป็นประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึงอย่าง
มากในเวทีการพัฒนาในหลายองค์กรระหว่างประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ดี ความยากจนยังคงเป็น
ประเด็นปัญหาที่สำคัญและเป็นความท้าทายหลักของการพัฒนาอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน ในส่วนของ
งานวิจัย พบว่านักวิจัยจากหลากหลายแขนงวิชาทั้งทางสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มานุษยวิทยา
และงานการศึกษาด้านการพัฒนาต่างๆ ได้มีความพยายามดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาวะ
ความยากจนด้วยความทุ่มเทและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากการพัฒนาองค์ความรู้ที่
ครอบคลุมมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นทั้งในส่วนของกรอบแนวคิดนิยามและระเบียบวิธีวิจัย โดยมี
วัตถุประสงค์มุ่งหวังที่จะนำความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปช่วยสนับสนุนการดำเนินนโยบายแก้ไข
ปัญหาความยากจนและนโยบายพัฒนาด้านการเกษตรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับลักษณะของความ
ยากจน รวมทั้งสาเหตุและกระบวนการที่ก่อให้เกิดความยากจนนั้น จำเป็นต้องอาศัยการศึกษา
วิจัยที่ครอบคลุมองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
(1) องค์ประกอบด้านมิติการให้คำนิยามหรือมุมมองต่อความยากจน
(metric dimension)
ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ากรอบแนวคิดต่อนิยามของความยากจนไม่ควร
จะมองเพียงแค่การขาดแคลนในรูปของตัวเงิน ซึ่งวัดจากด้านรายได้หรือรายจ่าย (income/
expenditure approach) แต่การให้คำนิยามและการวัดความยากจนควรจะต้องครอบคลุมมิติที่มี
ความหลากหลายมากยิ่งขึ้นมากกว่าเพียงความยากจนในรูปของรายได้ อาทิ ความยากจนในแง่
ของการขาดศักยภาพในความเป็นมนุษย์ที่ไม่สามารถพัฒนาและพึ่งพาตนเองให้มีคุณภาพชีวิต
ที่ดีได้ รวมถึงการขาดเสรีภาพและโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
17