Page 20 -
P. 20

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           1


                                                                                    บทนำ


                             ที่ผ่านมา งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับพลวัตความยากจนเกือบทั้งหมดเป็นงานวิจัยประเทศที่
                      พัฒนาแล้ว เนื่องจากข้อมูล panel data ที่เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์มีอย่างแพร่หลาย
                      และถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ในขณะที่งานวิจัยในประเทศกำลังพัฒนาเพิ่งจะเริ่มมีในปี 2543
                      แต่ก็ถือว่ายังมีจำนวนน้อยมาก สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากในแต่ละประเทศขาดแคลนฐานข้อมูล
                      panel data ในขณะที่ประเทศที่มีข้อมูล panel ก็มีจำนวนปีค่อนข้างสั้นและจำนวนตัวอย่าง
                      น้อยมาก (Baulch and Hoddinott, 2000; Yaqub, 2000; Lawson et al., 2006; Dercon and
                      Shapiro, 2007; Addison et al., 2009) ดังนั้น กล่าวได้ว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลวัตของ
                      ความยากจนยังค่อนข้างใหม่และเพิ่งอยู่ในกระบวนการเริ่มต้นของการศึกษา จึงมีความจำเป็น
                      อย่างมากที่ต้องดำเนินการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีศึกษาในประเทศกำลัง
                      พัฒนา


                      1.2.2 การวิเคราะห์ความยากจนกรณีศึกษาในประเทศไทย



                             (1) ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จอย่าง
                             มากในการลดความยากจนอย่างไรก็ดีปัญหาความยากจนยังมีมากใน
                             ชนบทภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทำนา
                             และเกษตรกรรม สะท้อนถึงปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียม

                             ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการ
                      ขยายตัวในระดับสูง และมีสัดส่วนคนจนลดลงอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งใน
                      ภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงมาก และรายได้ประชาชาติ
                      ต่อหัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มในอัตราเฉลี่ยเกือบร้อยละ 7 ในช่วงปี 2543-2551 ภายหลัง
                      จากเศรษฐกิจของประเทศสามารถฟื้นตัวได้จากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลให้
                      รายได้ประชาชาติต่อหัวของไทยเพิ่มขึ้นจาก 30,000 บาท ในปี 2531 เป็นประมาณ 100,000 บาท
                      ในปี 2551 รายได้ของครัวเรือนเพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกันจากประมาณ 8,000 บาทต่อเดือนในปี
                      2531 เป็น 18,600 บาทต่อเดือนในปี 2550 ไม่เพียงแต่เศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราสูง ประเทศ
                      ไทยยังถือเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการลดความยากจน โดยพบว่าสัดส่วน
                      คนจน (poverty incidence rate) ซึ่งวัดจากผู้ที่มีระดับรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนลดลง
                      อย่างรวดเร็วจากร้อยละ 40 ในปี 2531 มาอยู่ที่ร้อยละ 8 ในปี 2550 และจำนวนคนจนลดลงจาก
                      22 ล้านเหลือเพียง 5 ล้านคนในระยะเวลายี่สิบปีที่ผ่านมา












                                                                                             19
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25