Page 23 -
P. 23

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



                     ซึ่งจากคำถามวิจัยดังกล่าวผู้วิจัยได้อาศัยฐานข้อมูลทุติยะภูมิจากหน่วยงานราชการ และ
               ฐานข้อมูลจากการสำรวจภาคตัดขวางตามเวลา (panel data) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ
               ภาคกลางของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2531 และปี 2552 มาใช้เป็นข้อมูลหลักในการวิเคราะห์และ
               สังเคราะห์หาข้อเท็จจริง ทั้งนี้ ข้อมูลจากปี 2531 ได้จากการจัดเก็บไว้โดย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
               เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์1 และข้อมูลในปี 2552
               ได้จากการจัดทำการสำรวจของผู้วิจัยเอง

                     การศึกษาวิจัยชิ้นนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นงานแรกของประเทศไทย ในการวิเคราะห์ความ
               ยากจนในลักษณะพลวัต โดยช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับรูปแบบและสาเหตุที่ทำให้เกิด
               พลวัตความยากจนของครัวเรือนชาวนา ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์ที่ได้ไม่เพียงแต่อยู่ในรูปปริมาณ
               วิเคราะห์เพียงอย่างเดียว แต่ยังได้ความรู้ความเข้าใจและได้รายละเอียดเนื้อหาในเชิงลึกจากการ
               สัมภาษณ์เชิงคุณภาพวิเคราะห์อีกด้วย ส่งผลให้ภาพและมุมมองเกี่ยวกับปัญหาความยากจน

               กว้างมากขึ้นกว่าการใช้รูปแบบการวิเคราะห์ความยากจนแบบเดิม ซึ่งอาศัยข้อมูลภาพรวมและ
               วิเคราะห์แนวโน้มเพียงอย่างเดียว ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ในการกำหนด
               เป้าหมายกลุ่มคนจนได้ถูกต้องและช่วยให้การกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนและ
               การกระจายรายได้ของประเทศไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การวิเคราะห์
               พลวัตความยากจนนี้จะช่วยเป็นแนวทางและกรอบในการวิเคราะห์ระดับประเทศในอนาคต
               เมื่อข้อมูล panel ของประเทศไทยมีการเผยแพร่มากขึ้น

                     เอกสารเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 7 บท หลังจากบทนำ บทที่ 2 ได้ทบทวนวรรณกรรม
               ที่เกี่ยวข้องพร้อมกับการนำเสนอกรอบแนวคิดและวิธีวิจัย บทที่ 3 ได้ให้ภาพการเปลี่ยนแปลง
               ความยากจนในประเทศไทย บทที่ 4 นำเสนอรูปแบบและลักษณะพลวัตความยากจน บทที่ 5 ได้นำ
               เสนอ การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่ออธิบายถึงปัจจัยที่กำหนดพลวัตความยากจน สำหรับการ
               วิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่ออธิบายพลวัตความยากจนจากมุมมองของชาวบ้าน ได้นำเสนอไว้ในบท
               ที่ 6 ส่วน บทสุดท้ายเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย







                                                  KNIT






               1   ภาควิชาเศรษฐศาตร์เกษตรและทรัพยากร ได้จัดโครงการวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ภายใต้ชื่อ
                 โครงการ “Differential Impacts of Modern Rice Technology across Production Environment in Thailand”







               22 สถาบันคลังสมองของชาติ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28