Page 25 -
P. 25

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               พลวัตของความยากจน



                2.1     การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง





                     การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องเริ่มจากการให้คำนิยามความยากจน จากนั้นจึงทบทวนงาน
               วิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับพลวัตของความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา การแจกแจงลักษณะและ
               ประเภทของพลวัตความยากจน และปัจจัยที่ก่อให้เกิดพลวัตความยากจน


               2.1.1 นิยามและการวัดความยากจน


                     ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา นิยามความยากจนได้รับการพัฒนาโดยการตีความให้มี
               ความหมายที่กว้างและครอบคลุมมากขึ้น ในช่วงก่อนศตวรรษ 1900s ความยากจนเริ่มต้น
               จากความหมายแคบ หมายถึง ความขาดแคลนสิ่งจำเป็นในระดับที่ทำให้ไม่สามารถยังชีพได้
               (subsistence level) โดยสะท้อนจากความขาดแคลนระดับสารอาหารขั้นต่ำสุดที่ร่างกายมนุษย์
               ต้องการและถูกวัดออกมาในรูปตัวเงิน นั่นคือการพิจารณาที่ระดับรายได้ของบุคคลที่ไม่เพียงพอ
               กับการดำรงชีพตามมาตรฐานขั้นต่ำ (Booth, 1889: Rowntree, 1901) Booth (1889) ได้ทำการศึกษา
               ความยากจนของครัวเรือนในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยสร้างเส้นความยากจนขึ้นเพื่อ
               วัดระดับความต้องการขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ต้องการในการดำรงชีพและวัดออกในรูปตัวเงิน ผู้ที่มี
               รายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนดังกล่าวถือเป็นผู้ที่ตกอยู่ความยากจน งานของ Booth ได้รับการ
               พัฒนาในช่วงต่อมาโดย Rowntree (1901) ซึ่งศึกษาความยากจนในกรุงยอร์ก ประเทศอังกฤษ
               โดย Rowntree วัดความยากจนโดยสร้างเส้นความยากจนเช่นกัน แต่ได้แบ่งความยากจนออก
               เป็นสองระดับ คือ ความยากจนระดับแรก หมายความถึงผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงการใช้ทรัพยากร
               ต่างๆ ที่จะนำมาตอบสนองความต้องการขั้นต่ำของร่างกายที่พึงจะมีเพื่อการดำรงชีพได้ และ
               ความยากจนระดับสอง หมายถึงผู้ที่มีทรัพยากรแต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านั้น
               เพื่อดำรงชีพได้ ทั้งสองกลุ่มถือว่าเป็นผู้ที่ตกอยู่ในความยากจนตามคำนิยามของ Rowntree

                     ต่อมาในทศวรรษที่ 1970 ความยากจนถูกตีความให้มีความหมายเพิ่มขึ้นเป็นความ
               ขาดแคลนสิ่งที่เป็นความจำเป็นพื้นฐาน (basic needs) ซึ่งรวมถึงเครื่องนุ่งห่ม สุขภาพอนามัย
               และที่อยู่อาศัย หลังจากนั้น ในช่วงทศวรรษที่ 1990 เริ่มมีการถกเถียงของนักวิชาการในวงกว้างถึง
               ข้อจำกัดของแนวคิดนิยามความยากจนแบบแคบที่ให้ความสำคัญต่อความยากจนในรูปของตัว
               เงินหรือรายได้เพียงอย่างเดียว โดยเห็นว่าความยากจนในรูปของรายได้ไม่สามารถสะท้อนภาวะ
               ความขาดแคลนของบุคคลได้ครบถ้วนสมบูรณ์ จึงได้กำหนดนิยามของความยากจนในความ
               หมายที่กว้างขึ้นซึ่งครอบคลุมวิถีชีวิตความเป็นอยู่และความอยู่ดีมีสุขได้มากขึ้นทั้งมิติเศรษฐกิจ
               สังคม วัฒนธรรมและการเมือง (UNDP, 1991 และ World Bank 2000) โดยแนวคิดที่มีอิทธิพล







               24 สถาบันคลังสมองของชาติ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30