Page 15 -
P. 15
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
1.1 กล่าวนำ
ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ให้การพัฒนาเศรษฐกิจให้มีสภาพเศรษฐกิจขยายตัวได้ในระดับสูง และลดอัตราความยากจนใน
ประเทศลงได้ ในช่วงทศวรรษ 2520 และ 2530 (United Nations, 2003; Warr, 1993) แม้อัตรา
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะถดถอยจนติดลบในปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่ประสบภาวะวิกฤตทาง
เศรษฐกิจอย่างรุนแรงแต่ก็สามารถพัฒนาเติบโตขึ้นได้อีกครั้งหนึ่งในช่วงปลายทศวรรษ 2540
เป็นต้นมา ซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลให้ประเทศไทยปรับเปลี่ยนจากประเทศที่มี
อยู่ในกลุ่มรายได้น้อยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และเปลี่ยนจากสังคมการเกษตรเป็นหลัก
ไปเป็นสังคมที่พึ่งพิงอุตสาหกรรมมากขึ้น ความสำเร็จของการพัฒนาทางเศรษฐกิจนี้ได้ช่วยให้
รายได้โดยเฉลี่ยของครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ความยากจนลดลงอย่างมาก บทสรุปของ
ความสำเร็จในการลดความยากจนของประเทศไทยดังกล่าวได้ถูกอ้างอิงในงานวิจัยและบทความ
เกี่ยวกับความยากจนโดยทั่วไป และหลายการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจมีความสำคัญในการลดความยากจนในประเทศไทย (Kakwani et al., 2004;
Jitsuchon, 2006; Krongkaew et al., 2006) อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาเหล่านั้นเป็นการวิเคราะห์
ในระดับภาพรวมของประเทศ ซึ่งยังไม่เพียงพอในการอธิบายและทำความเข้าใจถึงกระบวนการ
เกิดพลวัตความยากจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในระดับย่อยของประเทศ ได้แก่ ระดับชุมชน
หรือระดับครัวเรือนได้ ทั้งนี้ การวิเคราะห์ในระดับประเทศอาจให้ข้อมูลสัดส่วนคนจนที่ลดลง
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าสภาพความเป็นอยู่ของทุกครัวเรือนหรือประชาชนทุกคนในประเทศดีขึ้น
ทั้งหมด เนื่องจากความยากจนไม่ได้มีลักษณะสถิตย์หรืออยู่นิ่งกับที่ นั่นคือครัวเรือนไม่ได้ก้าวออก
จากความยากจนได้เท่านั้น แต่ครัวเรือนยังสามารถที่จะเข้าสู่ความยากจนในขณะเดียวกัน ดังนั้น
“เราอาจพบว่าภายใต้สัดส่วนคนจนลดลง บางคนอาจสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้
ในขณะที่อีกหลายคนยังตกอยู่ในความยากจนต่อไป” (Ravillion, 2001) ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่
บางครัวเรือนอาจได้รับผลประโยชน์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและผลัก
ดันให้ตนเองออกจากความยากจนได้ แต่ยังมีบางส่วนที่อาจไม่ได้รับประโยชน์ ทำให้ยังคงอยู่ใน
ความยากจน หรือที่แย่กว่านั้นคือกลับเข้าสู่ความยากจนได้ ดังนั้น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการออก
และเข้าสู่ความยากจนในระดับชุมชนและครัวเรือนจึงนับเป็นก้าวสำคัญที่จะพัฒนาความรู้และ
ความเข้าใจเกี่ยวกับความยากจนอย่างลึกซึ้งและครบถ้วนมากขึ้น
จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความยากจนส่วนใหญ่จะวิเคราะห์อยู่บนฐานข้อมูล
ภาคตัดขวาง (cross sectional data) ที่สามารถอธิบายภาพรวมความยากจนในลักษณะแนวโน้ม
การเปลี่ยนแปลงสุทธิของสัดส่วนหรืออัตราความยากจน (poverty incidence rate) ว่าเพิ่มขึ้น
14 สถาบันคลังสมองของชาติ