Page 46 -
P. 46

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           2


                                          ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย


                             อย่างไรก็ดี แม้จะมีการยอมรับโดยทั่วไปถึงประโยชน์ในการเติมเต็มระหว่างการผสม
                      ผสานสองวิธีนี้ แต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดของการแลกเปลี่ยนข้อดี-ข้อเสียของสองวิธีดังกล่าว ข้อจำกัด
                      ที่สำคัญหนึ่งคือ ความแตกต่างในประเด็นทางปรัชญาของสองวิธีนี้สามารถให้ผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกัน
                      แทนที่จะเติมเต็มซึ่งกันและกัน (Shaffer, 1996) Kanbur และ Shaffer (2007) ระบุปัจจัยพื้นฐาน
                      ที่มีความสำคัญบนแนวคิดระหว่างวิธีการที่แตกต่างกัน ภายใต้เงื่อนไขการรวมและการแยกแยะ

                      ของการวิเคราะห์ความยากจน อย่างไรก็ตาม มีงานศึกษาเสนอว่าวิธีการเชิงคุณภาพและแบบมี
                      ส่วนร่วมให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันและสัมพันธ์อย่างดีกับวิธีการเชิงประมาณ (Scoones, 1995;
                      Temu and Due, 2000) ในขณะที่บางการศึกษาได้เสนอว่าจากการใช้วิธีการทั้งสอง ให้ผลลัพธ์ที่
                      แตกต่างกัน ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือการศึกษาความยากจนที่มีชื่อเสียงในชนบทของ
                      อินเดีย Jodha (1998) ได้ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในความยากจนระหว่างสองช่วงเวลา (1963-
                      1966 และ 1982-1984) โดยการประยุกต์สองวิธีการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันพบว่า ความยากจน
                      จากรายได้ขึ้นอยู่กับการสำรวจเชิงปริมาณและความนึกคิดของชาวบ้านต่อระดับความยากจน
                      ของพวกเขาเอง  ซึ่งผลการศึกษาได้บ่งชี้ว่าครัวเรือนที่ยากจนลงโดยการวัดรายได้แบบดั้งเดิม
                                   3
                      ดีกว่าเมื่อมองจากตัวบ่งชี้ทางคุณภาพที่แตกต่างกันของความเป็นอยู่ของชาวบ้านเอง

                             มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงชีวิตและความยากจนไม่มากนักที่ได้ประยุกต์
                      วิธีการเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาพลวัตความยากจนในระยะยาวด้วยการลงพื้นที่ศึกษาเดิมซ้ำกัน
                      หลายปี เพื่อนำมาใช้แทนการสำรวจเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถาม ตัวอย่างงานวิจัยที่เห็นอย่าง
                      ชัดเจนได้แก่ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของครัวเรือนชาวนาในประเทศบังคลาเทศ (Van
                      Schendel, 1981) การศึกษาความยากจนของครัวเรือนในชนบทประเทศอินเดีย (Beck, 1994)
                      การศึกษาพลวัตความยากจนในประเทศพม่าโดยใช้วิธีการแบบมีส่วนร่วมจากชาวบ้าน (Shaffer,
                      2002; Krishna, 2007) การศึกษาพลวัตความยากจนในประเทศอินเดีย (Krishna, 2006) ซึ่งได้
                      คิดค้นวิธีวิจัยที่เรียกว่า “stage of progress method” ขึ้นมาเพื่อกำหนดระดับเส้นความยากจน
                      จากการสอบถามตัวแทนชาวบ้านในลักษณะการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบกลุ่ม (focus
                      group discussion) อย่างไรก็ตาม งานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาโดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
                      เพียงอย่างเดียว ในระยะสิบปีที่ผ่านมาได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องจากนักวิจัย ผู้มีส่วนร่วม
                      และผู้กำหนดนโยบายเพื่อที่จะหาทางในการผสมผสานการใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

                      ในการวิเคราะห์ความยากจนโดยอาศัยข้อดีของแต่ละวิธีให้มาเติมเต็มและสร้างความรู้จาก






                      3   ข้อมูลสะท้อนการเปลี่ยนแปลงความยากจนที่ถูกประเมินโดยชาวบ้านประกอบด้วย (1) ข้อมูลแสดงการขยายโอกาสหรือ
                      การเพิ่มขึ้นของทางเลือกทางเศรษฐกิจ (การจ้างงาน สถานะภาพทางการเงิน) (2) ข้อมูลรูปแบบการบริโภค (3) ข้อมูลการ
                      บริโภคสินค้าอุปโภคบริโภคคงทน (Jodha, 1988)





                                                                                             45
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51