Page 53 -
P. 53
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พลวัตของความยากจน
ในแต่ละจังหวัดจะคัดเลือกหมู่บ้านเพื่อใช้ในการสำรวจจำนวน 3 หมู่บ้าน โดยแต่ละ
หมู่บ้านจะสะท้อนลักษณะของพื้นที่เพาะปลูกและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ (i)
พื้นที่นาในเขตชลประทาน (irrigated) (ii) พื้นที่นาน้ำฝน (rainfed) (iii) พื้นที่นาแห้งแล้ง/ นาน้ำท่วม
(drought/ flood-proned) และครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้านจะถูกสุ่มตัวอย่างแบบ random sampling
แต่อยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาถึงสัดส่วนของพื้นที่การเพาะปลูกข้าวและรูปแบบการเป็น
เจ้าของที่ดิน
ตารางที่ 2.5 พื้นที่และจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจ
จังหวัด นาในเขตชลประทาน นาน้ำฝน นาแห้งแล้ง/ นาน้ำท่วม
สุพรรณบุรี บ้านทุ่งชนะ บ้านหนองสลักได บ้านจระเข้ใหญ่
ตำบลวังยาง ตำบลสระกะโจม ตำบลจระเข้ใหญ่
อำเภอศรีประจันต์ อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอบางปลาม้า
ขอนแก่น บ้านโคกนางาม บ้านไก่นา บ้านเม็ง
ตำบลสำราญ ตำบลสำราญ ตำบลบ้านเม็ง
อำเภอเมือง อำเภอเมือง อำเภอหนองเรือ
ที่มา: จากผู้วิจัย
ผลจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า ในการสำรวจปี 2552 มี
จำนวนครัวเรือนที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 240 ครัวเรือน เทียบกับครัวเรือนเดิมที่เคยสำรวจครั้ง
แรกในปี 2531 จำนวน 295 ครัวเรือน นั่นหมายความว่ามีจำนวนครัวเรือนที่ไม่สามารถติดตาม
เก็บข้อมูลได้ในปี 2552 จำนวน 55 ครัวเรือน เนื่องจากครัวเรือนส่วนหนึ่งมีการย้ายถิ่นออกนอก
พื้นที่อย่างถาวร ขณะที่บางครัวเรือนมีหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกในครัวเรือนเสียชีวิตไปหมด
นอกจากนี้ ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นครัวเรือนใดเนื่องจากข้อมูลจากการ
สำรวจเดิมมีอยู่ไม่เพียงพอสำหรับการติดตาม
52 สถาบันคลังสมองของชาติ