Page 52 -
P. 52

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                           2


                                          ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย


                       ตารางที่  2.4 (ต่อ)



                           ประเด็นคำถาม    เครื่องมือที่ใช้และ        รายละเอียด
                                         การได้มาของข้อมูล

                        3.  ข้อมูลจากการใช้วิธี  • การนำผลจาก   • การวิเคราะห์ในขั้นนี้จะพิจารณาว่าข้อมูลและผลการ
                          วิเคราะห์เชิงคุณภาพ    สองวิธีวิจัยมา     ศึกษาที่ได้จากการสัมภาษณ์ในเชิงคุณภาพเพื่อนำมา
                          โดยการสัมภาษณ์จะ    ผสมผสานกัน     ใช้อธิบายผลจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ว่ามีความ
                          สามารถช่วยอธิบาย                 สอดคล้องหรือขัดแย้งกันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในขั้นตอน
                          ผลที่ได้จากวิธีการ               นี้จะแสดงให้เห็นว่าผลจากทั้งสองวิธีวิจัย สามารถ
                          วิเคราะห์เชิงปริมาณ              สะท้อนและอธิบายกันและกันได้มากน้อยเพียงใด
                          ได้หรือไม่ สนับสนุน
                          หรือหักล้างกัน
                          อย่างไร





                      2.4.3 ข้อมูลสำรวจที่ใช้ในการศึกษา


                             (1)  ประชากร

                             ในการศึกษานี้ อาศัยวิธีการใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกใน 2 กลุ่มประชากร
                      ได้แก่ (i) ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทำนาและเกษตรกรรมในพื้นที่ชนบทของภาคตะวันออกเฉียง
                      เหนือ (จังหวัดขอนแก่น) และภาคกลาง (จังหวัดสุพรรณบุรี) และ (ii) บุคลากรผู้เกี่ยวข้องที่มีความ
                      รู้และมีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน อาทิ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน
                      องค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกเทศบาล เจ้าหน้าที่ภาครัฐในหน่วยงานหลักด้านการพัฒนา
                      ชุมชนและการพัฒนาการเกษตร เจ้าหน้าที่ NGOs

                             (2)  กลุ่มตัวอย่าง

                             เนื่องจากการศึกษานี้ต้องอาศัยการศึกษาฐานข้อมูลการสำรวจ panel survey นั่นคือการ
                      ติดตามสำรวจครัวเรือนเดิม ณ ช่วงเวลาต่างๆ กัน ดังนั้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้จึงเป็นการ
                      สำรวจซ้ำจากกลุ่มตัวอย่างเดิมที่เคยจัดเก็บเมื่อปี 2531 ภายใต้งานการศึกษาของภาควิชา
                      เศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งการศึกษา
                      ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจผลกระทบจากการนำเทคโนโลยีพัฒนาพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่
                      มาใช้ต่อระดับรายได้ของครัวเรือนชาวนา โดยในการศึกษานี้จะนำกลุ่มตัวอย่างเดิมมาทำการ
                      สำรวจและสัมภาษณ์อีกครั้งในปี 2552 (ตารางที่ 2.5)




                                                                                             51
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57