Page 82 -
P. 82
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตำราที่ 4: การวัดความสูง ใช้เชือกหรือไม้วัดความสูง
ของขาหน้า โดยวัดจากพื้นถึงซอกขาหน้า ถือเป็นความ
ยาวขา เสร็จแล้วนำความยาวขาที่ได้ วัดต่อขึ้นไปจาก
ซอกขาถึงหลัง(เป็นความสูง) ถ้าความยาวส่วนขายาว
กว่า คือเลยแนวหลังขึ้นไป แสดงว่าควายตัวนี้จะโตได้
อีก แต่ถ้าความยาวพอๆ กันหรือสั้นกว่า แสดงว่าควาย
ตัวนี้จะไม่โต หรืออาจโตได้อีกเล็กน้อย จึงไม่ควรซื้อมา
เลี้ยง (บัวโลม, เพิ่มสุข, 2553)
(จากภาพ:เส้นสีแดงและสีเหลือง จะมีความยาวเท่ากัน
ซึ่งความยาวของเส้นสีเหลืองที่พ้นระดับหลังขึ้นไป คือ
การเจริญเติบโตที่เหลือและจุดสูงสุดคือประมาณการ
ความสูงของควายตัวนี้เมื่อโตเต็มที่)
ตำราที่ 5 เลือกซื้อควายหนังหนา หนังจันทน์ ขนน้อย (คือขนห่าง) ผิวหนังเรียบเป็นมัน จะ
เลี้ยงง่าย โตเร็ว (วิลัย, 2553)
ตำราที่ 6 เลือกซื้อควายที่มีก้อนเนื้อย้อยตรงบริเวณสะโพกใต้ขาหลังลงมา ซึ่งจะสังเกตเห็น
เป็นคู่ ซึ่งจะแสดงว่าเป็นควายที่มีความสมบูรณ์ ยิ่งถ้ายังเป็นควายที่อายุน้อย แสดงว่าจะเจริญเติบโตไป
ได้อีกมาก (เทพชาย, 2553)
2. ลักษณะควายที่ไม่ควรซื้อมาเลี้ยง
2.1 ควายที่เลี้ยงไม่อ้วน ถ้าถอนขนเส้นยาวที่แผงคอมาดูรากขน ถ้ามีลักษณะเป็นขีดขวาง 3
จุดหรือ 3 ขีด ไม่ควรซื้อมาเลี้ยง (จำปา, 2553)
2.2 ควรซื้อควายที่ซี่โครงจับสูง พร้อมกับสวาบแคบ จะดูอ้วนอยู่ตลอดเวลา เลี้ยงแล้วจะขาย
ง่าย ได้กำไร ส่วนควายที่ซี่โครงจับต่ำ เรียกควายหลาบเสือ (ตัวบางเหมือนตัวเสือ) จะเป็นควายที่เลี้ยง
ไม่อ้วน แต่จะเหมาะสำหรับซื้อมาใช้เป็นควายงาน (ล้วน, 2553)
2.3 ควายที่มีคุยแซก หรือ ตะกุยแทรก ซึ่งมักเป็นควายที่เลี้ยงไม่อ้วน (บุญโลม, ล้วน, 2553)
สอดคล้องกับ คำ (2553) ที่กล่าวว่าควายที่มีตะกุยแทรก ร่วมกับมีขนที่ห่างมาก และสวาบกว้างใหญ่
จะเป็นควายเลี้ยงไม่โต เลี้ยงยาก
2.4 ควายที่ลักษณะตาหนู (ตาเล็ก) ร่วมกับลักษณะปากเล็ก จมูกคล้ายจมูกม้า จะเป็นควายที่
กินหญ้าไม่เก่ง เลี้ยงยาก (คำ, 2553) ส่วน สมบัติ(2553) กล่าวว่าควายตาหนู จะค่อนข้างขี้กลัว แต่
ไถนาดี
ภูมิปัญญา 72 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา