Page 77 -
P. 77

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            6. การคัดเลือกความตามคำสอนโบราณ (โสก หรือโฉลกควาย)

                   คำว่า โสก เป็นลักษณะคำพูดสอน หรือเตือนใจ มีความหมายเดียวกับคำว่า โฉลก คือถูกต้อง
            ดีงาม หรือเหมาะสม(ประจักษ์, 2544) สำหรับโสกควาย จึงหมายถึง คำสอนที่บอกกล่าวถึงลักษณะ

            ควาย มีทั้งการกล่าวถึงลักษณะที่ดี ทำให้เกิดสิริมงคล บันดาลความสุขความเจริญ (ค้ำคูณ: อีสาน) ให้
            กับเจ้าของหรือผู้เลี้ยง และบางโสกก็เป็นลักษณะการห้ามไม่ให้ปฏิบัติ เนื่องจากถือเป็นอัปมงคล ในการ
            สืบค้นภูมิปัญญาครั้งนี้ พบโสก หรือ โฉลกที่เกี่ยวกับควาย เฉพาะในเกษตรกรภาคอีสาน ดังนี้


                   6.1 โสกควายงาม หรือ โฉลกควายงาม
                       (1)   โสกควายงาม 1 “สามอ้อง ป้องขาดำ
            ตาจอมไข่ เลาปลาคอ” (ล้วน, 2553)
                             สามอ้อง: ขนสีขาวรูปตัววี (V) ตรง

            บริเวณใต้คอตรงตำแหน่งเชือกรัดคอ  1  แห่งและตรง
            หน้าอกเหนือลูกมะพร้าวบริเวณที่ใกล้สายรัดแอกใหญ่ที่จะ
            แยกเป็น 2 แถบชิดกันอยู่ รวมเป็น 3 บั้ง
                             ป้องขาดำ:  มีขนสีดำตรงข้อกีบ

            (ภาษาอีสานเรียกว่าป้อง เช่น คำว่า ป้องอ้อย คือ ข้ออ้อย
            เป็นต้น)
                             ตาจอมไข่:  ตาโต  กลมมน  ปลาย
            แหลมพอดี คล้ายไข่ไก่หรือไข่เป็ดต้มสุกตัดขวาง ไม่ใช่ตา

            เล็ก ตาหยี เหมือนตาปลาดุก ซึ่งจะเป็นควายที่ดื้อ ชอบชน
            และบางตัวจะชนคน รวมถึงผู้เลี้ยงหรือเจ้าของควายด้วย
                             เลาปลาคอ:  คือช่วงลำตัวยาว  เนื้อ
            เต็มเสมอตั้งแต่ช่วงหน้าถึงช่วงหลัง เหมือนลำตัวของปลา

            ช่อน (เลา หมายถึง โครงสร้าง และปลาคอ คือ ปลาช่อน)
























 การคัดเลือกควายไทย                     ภูมิปัญญา   67     การคัดเลือกควายไทย
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82