Page 87 -
P. 87

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            ตารางที่ 5 ตารางแสดงผลการวิเคราะห์การจัดกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นตามวัตถุประสงค์การปรับปรุง
            พันธุ์สัตว์

                                                     การจัดกลุ่มตามหลักการปรับปรุงพันธุ์


                 วัตถุประสงค์การคัดเลือก   แหล่ง     ฝูงพ่อแม่พันธุ์ ฝูงผลิตเน้นการให้ผล  ใช้แรงงาน
                  ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น    พันธุกรรม   เพื่อผลิตลูก  ผลิตทางเศรษฐกิจ   (draft
                                          (genetic    (breeding      (production
                                         resource)      herd)           herd)        power)
             1. ควายงามตามอุดมคติ            /            /               /             /

                (ideal type)
             2.ควายพ่อพันธุ์                 /            /               /             /

             3.ควายแม่พันธุ์                 /            /               /             /

             4.ควายงาน                       /            /              -              /

             5.ลักษณะขวัญดี-ไม่ดี            /            -              -              -

             6.ลักษณะมงคล-กาลกิณี            /            -              -              -


            3. วิธีการและแนวทางการปรับปรุงพันธุ์ควายตามภูมิปัญญาท้องถิ่น จากภูมิปัญญาการ
            คัดเลือกควายตามวัตถุประสงค์ต่างๆ จะพบว่าองค์ความรู้ปลีกย่อยบางอย่างเป็นองค์ความรู้ของปราชญ์
            บางกลุ่ม หรือบางคน แต่ภูมิปัญญาหลายอย่างมีความสอดคล้องตรงกัน ถือว่าเป็นองค์ความรู้เด่น มีความ
            น่าสนใจ และน่าจะนำไปสู่การศึกษาวิจัย และหลายอย่างน่าจะนำไปกำหนดวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงพันธุ์

            ควาย ด้วยการบูรณาการภูมิปัญญากับหลักการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ซึ่งอาจแบ่งวิธีการปรับปรุงพันธุ์ได้ 2 วิธีการ
            จากกลุ่มภูมิปัญญา 4 ด้าน ตารางที่ 6  ดังนี้
                   3.1  การปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีปกติ คือการผสมพันธุ์ และการคัดเลือกพันธุ์ทั่วไป ซึ่งภูมิปัญญา

            เด่น  ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทั้ง 4 ด้าน คือพันธุกรรม การผสมพันธุ์ การให้ผลผลิต และการให้แรงงาน
            เฉพาะที่เป็นเชิงปริมาณทั้งหมด สามารถทำการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ตามปกติได้ แต่อาจต้องใช้
            เวลานานพอสมควรกว่าจะเห็นผลสำเร็จของการปรับปรุงพันธุ์ในแต่ละลักษณะที่ต้องการ ซึ่งวิธีการ
            ปรับปรุงพันธุ์นี้ ส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่ในหน่วยงานกรมปศุสัตว์เป็นหลัก  และส่วนหนึ่งได้ขยายไปสู่
            ฟาร์มเกษตรกรเครือข่าย รวมถึงภาคเอกชนที่ให้ความสนใจและต้องการเข้ามาสนับสนุนการพัฒนา

            ปรับปรุงพันธุ์ควายไทย เช่น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมานั้นการปรับปรุงพันธุ์ควายของ
            กรมปศุสัตว์ มีความก้าวหน้าโดยวัดจากดัชนีการปรับปรุงพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ  (จินตนา, 2548)
            โดยที่ผ่านมาส่วนใหญ่ใช้ค่าดัชนีเชิงปริมาณมาตั้งเป็นวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ มีการนำภูมิ

            ปัญญาท้องถิ่นเข้ามาบูรณาการน้อยมาก  ซึ่งในอนาคต  มีความจำเป็นที่จะต้องนำองค์ความรู้ที่เป็น




 การคัดเลือกควายไทย                     ภูมิปัญญา   77     การคัดเลือกควายไทย
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92