Page 88 -
P. 88
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ เข้ามาพิจารณาร่วมด้วยในโอกาสต่อไป
3.2 การปรับปรุงพันธุ์โดยการใช้เครื่องหมายพันธุกรรม ลักษณะที่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เป็นลักษณะ
เชิงคุณภาพ เช่น สีขน จุดขาวในตำแหน่งที่ดี ลักษณะรูปทรงเขา ตำแหน่งขวัญที่เป็นมงคล เป็นต้น หากใช้
วิธีการผสมพันธุ์และคัดเลือกตามปกติ จะหาความแม่นยำและบรรลุเป้าหมายได้ยาก จึงอาจต้องใช้เทคโนโลยี
ที่สูงขึ้น คือการค้นหาเครื่องหมายพันธุกรรม ที่ควบคุมลักษณะการแสดงออกนั้น ซึ่งจะมีความแม่นยำมาก
กว่า แต่ต้องใช้เทคโนโลยีและงบประมาณที่ค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งจึงอาจใช้วิธีการส่งเสริมและสนับสนุน
เกษตรกรภูมิปัญญาให้เป็นผู้อนุรักษ์พันธุกรรมที่ดีนี้ต่อไป และด้านหนึ่งอาจใช้ศูนย์หรือสถานีของทางราชการ
เป็นแหล่งรวบรวมและปรับปรุงพันธุ์ควาย ให้มีลักษณะตามอุดมทัศนีย์ควายไทยต่อไปในอนาคต
ตารางที่ 6 แสดงวิธีการและแนวทางปรับปรุงพันธุ์ควายตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่น่าสนใจ
คุณลักษณะ วิธีการปรับปรุงพันธุ์ ผู้ดำเนินการ
ภูมิปัญญาการคัดเลือกควาย คัดเลือก
ที่ตรงกันเป็นส่วนใหญ่ของ วิธีปกติ ด้วยเครื่อง ภาค
เกษตรกรภูมิปัญญาทุกภาค ปริมาณ คุณภาพ (ผสมพันธุ์+ หมาย ราชการ เกษตรกร
คัดเลือก)
พันธุกรรม
1. ภูมิปัญญาเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรม(genetics)
1) การมีอ้องคอ หรือบั้งคอ / / / / /
(V-chevron)
สีขาวใต้คอชัดเจน 2 ถึง 3
บั้ง
2) มีจุดขนสีขาวบนใบหน้า 7 จุด / / / / /
3) เท้าทั้ง 4 ข้าง / / / / /
เหนือข้อเล็บถึงเข่ามีสีขาว
เหมือนใส่รองเท้าขาว
4) เหนือไรกีบขึ้นไปมีขนสีดำคาด / / - / /
ชัดเจนทั้ง 4 ขา
5) เขาสวยงามรับใบหน้า / / - / /
6) อัณฑะใหญ่เสมอ ไม่บิด / / / - / /
7) ปลายลึงค์ไม่หย่อนยาน / / / - / /
8) สีขนมีสีเทาแดง(สีเปลือกเมล็ด / / / / /
มะขาม) หรือเทาดำ
ภูมิปัญญา 78 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา