Page 92 -
P. 92
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 5
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
การศึกษาสืบค้น รวบรวมและบันทึกภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการคัดเลือกควาย ได้เลือกใช้วิธี
การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง ที่ออกแบบไว้แล้ว ทำการ
สืบค้นข้อมูลจากเกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้รู้และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับควายไทยพยายามให้
ครอบคลุมเกษตรกรภูมิปัญญาในทุกภาคของประเทศ และส่วนหนึ่งเป็นการศึกษา รวบรวมจากเอกสาร
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่าภูมิปัญญาการคัดเลือกควายจะมีอยู่ในพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งถ่ายทอด
สืบต่อกันมา บางองค์คามรู้ก็มีความสอดคล้องคล้ายคลึงกันมาก แต่บางองค์ความรู้อาจแตกต่างกันไป
ตามภาษาพูดของแต่ละท้องถิ่น เช่น ชื่อของขวัญควาย ตามตำแหน่งต่างๆ เป็นต้น โดยมีข้อสังเกตว่า
ภูมิปัญญาด้านการคัดเลือกควายงาม และภูมิปัญญาการคัดเลือกควายโดยการดูตำแหน่งขวัญและ
ลักษณะกาลกิณีต่างๆ เป็นองค์ความรู้ที่อยู่ในวงแคบและไม่ค่อยจะมีการเปิดเผยมากนัก ส่วนองค์ความรู้
ที่เกี่ยวกับด้านการผลิต คือการคัดเลือกควายพ่อ-แม่พันธุ์ และควายใช้งาน นับเป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่
ทั่วไปในเกษตรกรที่เลี้ยงควาย ซึ่งอาจสรุปเป็นภูมิปัญญาในการคัดเลือกควายได้เป็น 2 ด้าน ดังนี้
1. ภูมิปัญญาการคัดเลือกควายเชิงอนุรักษ์ (Conservative) หลายองค์ความรู้
ของการคัดเลือกควาย ได้แก่ การดูลักษณะควายงามตามอุดมคติ การคัดเลือกโดยการดูตำแหน่งขวัญ
และลักษณะกาลกิณี ส่วนใหญ่เป็นลักษณะเชิงคุณภาพ มีความเป็นนามธรรมสูง เช่น ขาว ดำ ยาว สูง
แคบฯ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ไม่สามารถทำการชั่งตวง หรือวัด ในเชิงปริมาณได้ จึงยากที่นำมากำหนดเป็น
วัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ แต่ต้องยอมรับว่าภูมิปัญญาเหล่านี้ได้ผ่านการทดสอบ กลั่นกรองมา
เป็นเวลานาน หลายอย่างแม้จะไม่มีการพิสูจน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ แต่ก็มีหลักฐานเชิงประจักษ์ให้เห็นได้
ยกตัวอย่างเช่น ควายที่ส่งเข้าประกวดในงานประกวดระดับชาติ ที่จะจัดว่าเป็นควายงาม ล้วนแต่ต้องมี
ลักษณะตามอุดมทัศนีย์ มีตำแหน่งขวัญที่ดี และไม่มีตำหนิหรือลักษณะกาลกิณี ซึ่งที่ได้ผ่านการคัดเลือก
ด้วยภูมิปัญญาของเกษตรกรเจ้าของที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น โดยภูมิปัญญาเชิงอนุรักษ์นี้อาจจัดได้ 2 กลุ่ม
ได้แก่
1.1 องค์ความรู้การคัดเลือกควายงามตามอุดมคติหรืออุดมทัศนีย์ องค์ความรู้หรือภูมิ
ปัญญาการคัดเลือกควายงามมีทั้งลักษณะปริมาณ และเชิงคุณภาพ องค์ความรู้นี้ยังอยู่ในวงจำกัด
มักเป็นความรู้เฉพาะตัว ส่วนใหญ่จะถ่ายทอดอยู่ในวงศ์ตระกูล หรือคนใกล้ชิด และผู้ที่สืบทอดภูมิปัญญานี้
ส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันก็คือกลุ่มเกษตรกรที่มีการเลี้ยงและส่งควายเข้าประกวดในงานประกวด
ควายที่สำคัญๆ โดยลักษณะอุดมทัศนีย์ของควายไทย ที่สำคัญจะต้องมี คือ บั้งคอสีขาว(V-Chevron)
ภูมิปัญญา 82 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา