Page 97 -
P. 97
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4. กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณเกษตรกรเจ้าของภูมิปัญญาทุกๆ ท่าน ทั้งที่ปรากฏนามในบรรณานุกรม และที่
ตกหล่นไม่ได้กล่าวถึง ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การคัดเลือกควายในประเด็นต่างๆ เพื่อประโยชน์ของ
สาธารณชน และคนรุ่นหลัง ที่จะได้ศึกษา สืบทอดและส่งต่อคนรุ่นต่อไป ขอขอบคุณปศุสัตว์จังหวัด
ชัยนาท สุพรรณบุรี พิจิตร นครนายก หนองคาย นครพนม และนักวิชาการสัตวบาลในจังหวัดดังกล่าว
ที่ช่วยสืบค้นข้อมูล คุณอรอนงค์ พิมพ์คำไหล ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เชียงราย คุณสมหมาย
คล้ายบ้านใหม่ หัวหน้าสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครศรีธรรมราชและคณะ ที่สนับสนุนการสืบค้น
ข้อมูลภูมิปัญญาในภาคเหนือและภาคใต้ ขอบคุณ คุณเรืองศักดิ์ ละทัยนิล อดีตปศุสัตว์จังหวัดหลาย
จังหวัด ที่คอยเป็นกำลังใจ สนับสนุนเอกสารในการสืบค้นและอ่านแก้ไขต้นฉบับให้ คุณสุพจน์ ศรีสร้อย
สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมปศุสัตว์ คุณน้องนุช จูงวงษ์สุข สำนักงานอัยการ
สูงสุด และ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุรินทร์ ที่เอื้อเฟื้อภาพถ่ายควายไทยและควายพม่า ผู้
เชี่ยวชาญ จินตนา อินทรมงคล ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและขยายพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ และ
รศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำ
ในการเขียน ขอบคุณศูนย์ปศุสัตว์อินทรีย์ ที่จัดเสวนา “การคัดเลือกควายพันธุ์ดีโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น”
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2553 ณ เวทีควายไทยลดโลกร้อน ในงานกระบือและโคเนื้อแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ที่
สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์นครราชสีมา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้ข้อมูลภูมิปัญญาการ
คัดเลือกควายจากวิทยากรรวมทั้งเกษตรกรผู้ร่วมฟังการเสวนาเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นประโยชน์อย่าง
ยิ่ง และสุดท้าย ต้องขอขอบคุณ กรมปศุสัตว์ โดยศูนย์ปศุสัตว์อินทรีย์ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ ที่ได้ให้การ
สนับสนุนงบประมาณการจัดพิมพ์เอกสารเล่มนี้จนเสร็จสมบูรณ์ จึงใคร่ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้
ณ โอกาสนี้ ด้วย
การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา 87 การคัดเลือกควายไทย