Page 96 -
P. 96

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                   3. ข้อเสนอแนะ

                       3.1   ภูมิปัญญาการคัดเลือกควายบางประการเป็นลักษณะนามธรรม (เชิงคุณภาพ) ซึ่ง
            สำหรับลักษณะควายงามตามอุดมทัศนีย์ นับเป็นลักษณะเฉพาะของควายไทยที่ดีเด่น สมควรมีแนวทาง

            การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม การสนับสนุนให้มีการประกวดควายงามตามอุดมทัศนีย์ นับ
            เป็นหนึ่งแนวทางที่สามารถทำได้  และจะเป็นการกระตุ้นส่งเสริมให้ภูมิปัญญาด้านนี้  รวมทั้งการดู
            ลักษณะขวัญ และการดูลักษณะกาลกิณี จะได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไปด้วย
                       3.2   ภูมิปัญญาที่เป็นองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางด้านการผสมพันธุ์และการให้

            ผลผลิตหลายประการ สามารถทำการศึกษาวิจัยต่อยอด รวมทั้งควรให้ความสำคัญต่อการนำมาบูรณา
            การร่วมกับวัตถุประสงค์การปรับปรุงพันธุ์ควายของกรมปศุสัตว์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการผลิตควาย
            พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ที่มีเป้าหมายในการกระจายพันธุ์สู่เกษตรกร เพื่อให้ตรงกับความต้องการของ
            เกษตรกรมากที่สุด

                       3.3   ภูมิปัญญาการคัดเลือกควายใช้งาน เป็นภูมิปัญญาที่อาจมีความความสำคัญมากขึ้น
            ในอนาคต แต่การสร้างพันธุ์ควายเพื่อใช้แรงงานโดยตรงนับว่ายังไม่มีความจำเป็น การเผยแพร่และแลก
            เปลี่ยนภูมิปัญญาการคัดเลือกควายงานที่ถูกต้อง  ในกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้แรงงานควายหรือผู้สนใจ  ก็
            สามารถที่จะช่วยทำให้การคัดเลือกควายทั่วๆ ไปที่มีอยู่แล้ว เพื่อมาฝึกสอนเป็นควายงานได้ถูกต้องและมี

            ประสิทธิภาพโดยไม่ยากนัก
                       3.4   การพัฒนาพันธุ์ควายในอนาคต มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในด้านการจัดการ
            อาหารสัตว์ร่วมด้วย  เพราะนับวันพื้นที่ยิ่งจะมีจำกัด  รวมถึงผลกระทบจากกลไกการผลิตอาหาร
            คน(Food) อาหารสัตว์(Feed) และพลังงาน(Fuel) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน วัตถุดิบหลายตัวมี

            การใช้ร่วมกัน รวมถึงสภาพดินฟ้าอากาศที่มีความแปรปรวนสูง เกิดสภาวะโลกร้อนขึ้น การวิจัยรูปแบบ
            การจัดการให้อาหาร และพันธุ์พืชอาหารสัตว์ที่เหมาะสม หรือการปรับปรุงพันธุ์ควายให้มีขนาดรูปร่าง
            และความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพข้อจำกัดต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ถือว่ามีความสำคัญและจะ
            ต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วยสำหรับแผนการปรับปรุงพันธุ์ควายของประเทศในระยะยาว

                       3.5   กรมปศุสัตว์  ควรมีศูนย์หรือสถานีที่รวบรวมและพัฒนาพันธุ์ควายไทยตามอุดม
            ทัศนีย์ และควายที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ควายเผือก หรือพญาควายฯ อย่างน้อย 1 แห่ง และขยายให้
            ครบทุกภาคในอนาคต  ซึ่งศูนย์ฯ  นี้จะเป็นแหล่งอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมควายไทยชั้นเลิศของ
            ประเทศ และกระจายพันธุ์ดี สู่ชุมชน รวมถึงพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ด้วย

                       3.6   ควรส่งเสริมให้มีการศึกษารวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาการคัดเลือกควายให้กว้าง
            ขวางมากยิ่งขึ้น ให้ครอบคลุมในประเด็นที่ยังขาดอีกหลายด้าน เช่น การคัดเลือกควายในพื้นที่สูงของชน
            เผ่าต่างๆ การคัดเลือกควายของชาวไทยมุสลิม เป็นต้น








                                        ภูมิปัญญา   86     การคัดเลือกควายไทย                                                                   ภูมิปัญญา
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101