Page 95 -
P. 95
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แรงงานควายก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ควรให้ความสนใจ ซึ่งในอนาคตก็ไม่แน่ว่าควายงาน อาจกลายเป็น
สินค้ามูลค่าเพิ่มได้ โดยถ้าฝึกไถนาได้แล้วจะมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมประมาณ 3,000-5,000 บาท(ล้วน,
2553) และอาจพัฒนาเป็นสินค้าเพื่อการส่งออกไปในหลายประเทศได้ การศึกษาถึงลักษณะที่ภูมิปัญญา
ที่น่าสนใจ เช่น เช่น สัณฐานของรูจมูก(รูจมูกแบน จะทำงานทนร้อนกว่ารูจมูกกลม) สีขน (ขนสีเทา ทน
ร้อนกว่า ขนสีดำ) ในอนาคตอาจต้องมีการศึกษาอย่างจริงจัง โดยอาจต้องใช้การคัดเลือกด้วย
เครื่องหมายพันธุกรรมมาช่วยเช่นเดียวกัน
นอกจากภูมิปัญญาทั้ง 4 ด้านแล้ว ยังพบว่าเกษตรกรส่วนหนึ่งได้ใช้หลักการคัดเลือกและ
ปรับปรุงพันธุ์ควายมาโดยตลอด จะรู้ตัวรู้ไม่ก็ตาม เห็นได้จาก คำกล่าวที่ว่า “ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่”
ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงควายเกือบทั้งหมดทราบและเข้าใจหลักการนี้ และได้ใช้ภูมิปัญญานี้ในการคัดเลือกซื้อ
ควายมาทำพันธุ์อยู่แล้ว โดยเกษตรกรจะเลือกซื้อควายจากคอกที่แม่พันธุ์มีประวัติให้ลูกดี เลี้ยงลูกเก่ง
และให้ลูกที่ดีกว่าแม่ (เรียกว่า แม่ส่ง) เป็นต้น และที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในพื้นที่ภาคอีสาน
(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จะมีคำสอน ที่เรียกว่า โสก หรือโฉลกควาย ซึ่งมีความเฉพาะถิ่นสูง บางคำ
อาจเข้าใจยากหรือไม่เข้าใจเลยของคนในภาคอื่นๆ แต่สำหรับคนอีสาน นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ชาญฉลาด
ในการสร้างสรรค์คำสอนที่คล้องจอง ช่วยให้สามารถจดจำได้ง่าย และใช้ประโยชน์ได้จริง ในสังคม
ชนบท โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ซึ่งควรมีการสืบค้น รวบรวมและอนุรักษ์ไว้ต่อไป
การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา 85 การคัดเลือกควายไทย