Page 86 -
P. 86
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เหล่านี้เกษตรกรอาจไม่มีความเข้าใจว่ามันคือหลักการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ แต่ก็ส่งผลให้เกิดการพัฒนา
ปรับปรุงพันธุ์ควายมาอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรสามารถเลี้ยงควายให้ขยายพันธุ์ดี เจริญเติบโตเร็ว และ
ขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งองค์ความรู้เชิงปริมาณนี้สามารถนำมากำหนดเป็น
วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงพันธุ์ ด้วยวิธีการผสมพันธุ์และคัดเลือกลักษณะให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่
กำหนดไว้ และองค์ความรู้เด่นบางอย่างก็สามารถใช้การคัดเลือกโดยอาศัยการศึกษาด้านเครื่องหมาย
พันธุกรรมมาช่วยได้
2. การจัดกลุ่มภูมิปัญญาตามหลักการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ตามภูมิปัญญาการคัดเลือกควาย
7 ด้าน สามารถนำมาสังเคราะห์และจัดกลุ่ม เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ได้เป็น
4 กลุ่ม ตารางที่ 5 ได้แก่
2.1 ภูมิปัญญาเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรม (genetic resource) ถือเป็นแหล่งพันธุกรรม
ควายงามตามอุดมทัศนีย์ที่ลักษณะบางอย่างจัดเป็นด้านคุณภาพ เช่น จุดสีขาวบนใบหน้า ที่ตา ที่แก้ม
และกราม ขนสีขาวที่ใต้คอ (บั้งคอ) เป็นต้น และลักษณะตำแหน่งขวัญที่ดี ลักษณะที่เป็นมงคล (คือไม่มี
ลักษณะกาลกิณี) หลายองค์ความรู้มีความสัมพันธ์กับการให้ผลผลิต ซึ่งมีเรื่องของพันธุกรรม (gene)
เข้ามาเกี่ยวข้อง และถือเป็นความหลากหลายทางพันธุกรรมของควายไทย ซึ่งอาจจะต้องมีการศึกษาใน
เชิงลึกเพื่อหาตำแหน่งยีนที่ควบคุมแต่ละลักษณะ เป็นการใช้วิธีการคัดเลือกโดยอาศัยเครื่องหมาย
พันธุกรรมมาช่วย ซึ่งจะสามารถอนุรักษ์ลักษณะอุดมทัศนีย์ควายไทยไว้ และถ้ายีนที่ควบคุมลักษณะ
ปรากฏ มีความสัมพันธ์กับลักษณะการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตในเชิงบวก ก็สามารถพัฒนาเป็นเชิง
เศรษฐกิจได้ด้วย ซึ่งลักษณะทางพันธุกรรมนี้ถือว่ามีอยู่ในควายทุกประเภท
2.2 ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับลักษณะการผสมพันธุ์ (breeding herd) เป็นฝูงพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิต
ลูก ลักษณะควายงามตามอุดมทัศนีย์บางประการ และลักษณะควายพ่อ-แม่พันธุ์ รวมทั้งควายงานเพศ
เมีย ซึ่งมีองค์ประกอบย่อยของลักษณะต่างๆ เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งสามารถทดสอบ ผสมพันธุ์และ
คัดเลือกได้ โดยต้องใช้ฝูงผสมพันธุ์ในการกระจายพันธุกรรมที่ดีต่อไป
2.3 ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับลักษณะการให้ผลผลิต (productivity herd) เป็นฝูงผลิตเน้นการให้
ผลผลิตทางเศรษฐกิจ ลักษณะเชิงปริมาณที่มีอิทธิพลต่อการให้ผลผลิต เช่น กระดูกขาใหญ่ควายจะโต
เร็ว ขนาดแม่พันธุ์ที่ทำให้ผสมติดง่ายและให้ลูกถี่ เหง้าหางมีขนาดใหญ่และยาว จะเจริญเติบโตเร็ว
ซึ่งลักษณะต่างๆ เหล่านี้ มีอยู่ในทั้งควายงามตามอุดมคติ และควายพ่อ-แม่พันธุ์ และควายงานที่เป็น
เพศเมีย ซึ่งถ้าพัฒนาแล้วจะมีผลในการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจได้โดยตรง
2.4 ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับลักษณะการให้แรงงาน (draft power) เป็นกลุ่มควายงาน ที่อาจมี
ความสำคัญในอนาคตในฐานะแรงงานทดแทน หลายองค์ความรู้มีความน่าสนใจ เช่น รูปร่างและขนาด
ควายงานที่เหมาะสม สีหนังและขนที่ทนร้อน ลักษณะและขนาดพื้นที่รูจมูกต่อการทนร้อน เป็นต้น
ซึ่งควายทุกประเภทสามารถจัดเป็นกลุ่มควายใช้แรงงานได้ด้วย
ภูมิปัญญา 76 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา