Page 84 -
P. 84
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 4
วิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการคัดเลือกควาย
ผลจากการสืบค้นภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับการคัดเลือกควาย จะเห็นว่าหลายภูมิปัญญาเป็นองค์
ความรู้การคัดเลือกที่เป็นลักษณะเชิงคุณภาพล้วน มีลักษณะเป็นนามธรรม แต่บางองค์ความรู้จะมี
ลักษณะเชิงปริมาณแฝงอยู่ และมีบางองค์ความรู้สามารถจัดเป็นทั้งลักษณะคุณภาพและปริมาณ ซึ่งทั้ง
สองลักษณะสามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบในเชิงหลักการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ และนำมาใช้ประโยชน์ในแง่
การปรับปรุงพันธุ์ควายในประเทศได้ ดังนี้
1. การจัดกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นตามวัตถุประสงค์ของเกษตรกร จากผลการสืบค้นภูมิ
ปัญญาการคัดเลือกควาย เห็นว่าสามารถจำแนกเป็นวัตถุประสงค์ในการคัดเลือกโดยเกษตรกรได้เป็น 2
ลักษณะ ตารางที่ 4 ดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์การปรับปรุงพันธุ์เชิงอนุรักษ์ (Conservative) องค์ความรู้ปลีกย่อยของ
ลักษณะควายงามตามอุดมคติบางประการ และ การคัดเลือกโดยการดูตำแหน่งขวัญ และลักษณะ
กาลกิณี ส่วนใหญ่เป็นลักษณะเชิงคุณภาพ ไม่สามารถทำการชั่งตวง หรือวัด ในเชิงปริมาณได้ เป็นการ
บ่งบอกได้เพียงว่าใหญ่ สวย สง่า ขาว เทา ดำ เช่น รูปร่าง หน้าตา ลักษณะรูปทรงของเขา สีขน
เป็นต้น โดยองค์ความรู้เหล่านี้ถูกอนุรักษ์ถ่ายทอดสืบต่อกันมา เป็นการอนุรักษ์พันธุกรรมประจำถิ่น
(in situ conservation) จากความเชื่อและค่านิยมที่แตกต่างกันไปบ้างของคนแต่ละถิ่นที่ ยิ่งส่งผลดีต่อ
ความหลากหลายของพันธุกรรมควายไทยที่ถูกคัดเลือกโดยธรรมชาติเรื่อยมา ซึ่งองค์ความรู้เชิงอนุรักษ์นี้
ส่วนใหญ่จะอยู่กับกลุ่มผู้ที่เลี้ยงควายเข้าประกวดโดยตรง และเกษตรกรรุ่นเก่า ที่มีอดีตเป็นพ่อค้า
ควาย(นายฮ้อย) ที่เคยรวบรวมควายไปขายแถบภาคกลางในสมัยก่อน ซึ่งภูมิปัญญาหลายอย่างสามารถ
พัฒนาในเชิงเศรษฐกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับควายได้ เช่น ควายงามที่เข้าประกวด ที่มีลักษณะ
สวยงามตามอุดมคติ แม้ไม่ได้มีตัวเลขการผ่านทดสอบอัตราการเจริญเติบโตยืนยัน หรือไม่มีพันธุ์ประวัติ
ที่ชัดเจน ก็อาจขายได้ราคาเป็นแสนบาทขึ้นไป และควายที่เข้าประกวดในงานควายและโคเนื้อแห่งชาติ
ที่ผ่านมานั้น มีค่าเฉลี่ยความสูง ความยาวและน้ำหนักตัวมากกว่าควายตามศูนย์และสถานีวิจัยทดสอบ
พันธุ์สัตว์ ของกรมปศุสัตว์ (จินตนา, 2548) ภูมิปัญญาเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจนำมาศึกษาวิเคราะห์
อย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะให้เป็นภูมิปัญญาเชิงอนุรักษ์ตามที่เป็น
อยู่ในปัจจุบัน โดยอาจนำมาเป็นข้อสังเกตร่วมกับการกำหนดวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงพันธุ์ในเบื้องต้น
ซึ่งอาจมีส่วนทำให้การคัดเลือกลักษณะเชิงปริมาณมีความก้าวหน้ารวดเร็วและตรงตามความต้องการ
ของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ควายที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีอัตราการเจริญ
เติบโตดี น้ำหนักหย่านมสูง อาจไม่ถูกใจเกษตรกรผู้เลี้ยงก็ได้ เนื่องจากหน้าตาไม่สวย เขาไม่สวย หางสั้น
ภูมิปัญญา 74 การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา