Page 59 -
P. 59
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. การคัดเลือกควายงาน การคัดเลือกควายเพื่อใช้งาน ปราชญ์ภูมิปัญญามีหลักการ ดังนี้
3.1 หน้าตา หัว หู เขา คอ ควายใช้งานดีหน้าค่อนข้างยาว หน้าบาง ไม่หน้าสั้น มีหูเล็กและตั้ง
ถ้าหูตกจะแสดงถึงความขี้เกียจ (ประสบ, 2527) ลักษณะเขา แม้ไม่เกี่ยวกับการใช้งานโดยตรงแต่เกี่ยว
กับคนเลี้ยง ดังนั้น ควายงานก็ต้องมีเขางามเหมือนควายงามตามอุดมคติ ยกเว้นหาไม่ได้ก็จำเป็นที่จะใช้
ควายที่มีเขาแบบอื่นๆ ขอให้ใช้งานได้ ลักษณะคอ ต้องเป็นคอปลาหมอหรือคองูสิงห์ คือคอเป็นรูป
สามเหลี่ยม ไม่หนาไม่ยาวมาก เวลาใส่แอกแล้วจะไม่หลุดง่ายภูมิปัญญาอื่นของปราชญ์ ในการคัดเลือก
ควายงาน คือ
หน้ายาว
1) ควายที่ตาแหลว (ตาเหยี่ยว) คือตาเป็นวงรียาว จะสอนง่าย
2) ควายที่มีหน้าค่อนข้างยาว เชื่อว่าเป็นควายที่ใช้งานคล่องและว่านอนสอนง่าย ตรงข้าม
กับควายใบหน้าสั้น (จรัญ, 2527)
3.2 อุปนิสัย อารมณ์ นับว่ามีความจำเป็นมากสำหรับควายงาน ควายที่จะมาฝึกใช้งานจะได้
รับการเอาใจใส่ดูแลและสังเกตพฤติกรรมตั้งแต่เล็ก ควายที่มีนิสัยเชื่อง ท่าทางฉลาดและเป็นมิตรกับ
เจ้าของ จึงจะถูกเลือกนำมาฝึกเพื่อใช้งาน
3.3 ขวัญ ควายใช้งานกับลักษณะขวัญ มีความสำคัญต่อเจ้าของมาก จึงต้องได้รับการตรวจสอบ
ขวัญและตำแหน่งขวัญต่างๆ เกษตรกรบางรายอาจดูลักษณะขวัญไม่เป็น ก็ต้องไหว้วานให้ปราชญ์หรือ
ผู้รู้ประจำหมู่บ้านมาตรวจสอบให้ ควายที่มีขวัญดีตามตำราเท่านั้น จึงจะถูกเลือกมาฝึกใช้งาน
(รายละเอียดใน การคัดเลือกควายโดยการดูขวัญ)
3.4 โครงสร้างลำตัว ลำตัวยาว หน้าอก
กว้างเต็ม ไหล่ใหญ่ หลัง แบนและกว้าง (คำภู,
2553) ส่วนใหญ่เห็นว่าควายทำงานดี ไม่ใช่ควาย
อ้วน เพราะนอกจากอุ้ยอ้ายแล้ว เวลาทำงานก็จะ
ร้อนเร็ว ทำงานไม่ทน โดยมีภูมิปัญญาเพิ่มเติม
ดังนี้
ลำตัวยาว
การคัดเลือกควายไทย ภูมิปัญญา 49 การคัดเลือกควายไทย