Page 63 -
P. 63

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                                                                     อนึ่ง ควายถ้าไถนาเป็นแล้ว จะมา
                                                       ใช้เทียมเกวียนได้เลย โดยการฝึกเพิ่มอีกนิดหน่อย
                                                       ส่วนควายที่ใช้ไถคู่อยู่แล้ว ในภาคกลางและภาค

                                                       ใต้ แทบจะไม่จำเป็นต้องฝึกอีก ส่วนควายเผือก
                                                       เรืองศักดิ์ (2549) กล่าวว่า สามารถใช้แรงงานได้
                                                       เหมือนกับควายดำ  มีการใช้แรงงานในการไถ
                                                       คราด หรือบางครั้งพบใช้เทียมเกวียนลากสิ่งของ

                                                       ด้วย แต่ถ้าใช้ไถนาจะมีข้อเสียคือร้อนง่าย ไม่ทน
                                                       ร้อนเท่ากับควายดำ  มักจะหยุดรอและนอนน้ำ
                                                       บ่อย ทั้งนี้ น่าจะเกิดจากที่ผิวหนังไม่มีเม็ดสีดำที่
                                                       จะดูดซับความร้อนเอาไว้ ทำให้แสงแดดทะลวง

            เข้าถึงผิวหนังชั้นใน หรือกระทบเส้นประสาทชั้นใต้ผิวหนังได้ง่าย



            4. การคัดเลือกควายโดยการดูขวัญ ภูมิปัญญานี้ ค่อนข้างจะเป็นความลับ มีปราชญ์ภูมิปัญญา
            ส่วนน้อยเท่านั้น ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ และมีความหลากหลายแตกต่างกันไป  โดยเฉพาะชื่อเรียก
            ตำแหน่งขวัญต่างๆ

                   ขวัญ เป็นลักษณะของขนบนร่างกายที่ขดเป็นวง อาจ
            เวียนซ้ายหรือเวียนขวา  ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของควายไทย

            ปราชญ์บางท่านระบุว่าขวัญดีจะเวียนขวา(ประทักษิณ)  โดย
            ควายจะมีขวัญตามร่างกายตั้งแต่ 1-9 แห่ง อยู่ในตำแหน่งที่
            แตกต่างกัน จึงใช้ขวัญเป็นเครื่องหมายของควายแต่ละตัวได้
            ซึ่งเดิมมีการใช้ขวัญเป็นเครื่องหมายกำหนดรูปพรรณประจำตัว

            ตัวควาย (จรัญ, 2527)
                   ซึ่งจากการสืบค้นภูมิปัญญาการคัดเลือกควาย  ได้            ขวัญเวียนขวา
            ทำการสำรวจขวัญควายไม่ต่ำกว่า 200 ตัว พบว่าตำแหน่งขวัญ
            จะพบมากบริเวณใบหน้าตรงบริเวณหน้าผาก และบริเวณไหล่

            หน้า เกษตรกรภูมิปัญญาทั่วทุกภาคมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับขวัญ
            มากน้อยแตกต่างกัน แต่ขวัญที่เป็นลักษณะดี และขวัญที่เป็น
            ลักษณะกาลกิณี  ส่วนใหญ่จะระบุตรงกัน  โดยชื่อขวัญและ
            ตำแหน่งขวัญ อาจตรงหรือคลาดเคลื่อนกันเล็กน้อย โดยการดู

            ขวัญได้จำแนกขวัญออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ขวัญดีและขวัญไม่ดี
            หรือขวัญที่เป็นลักษณะกาลกิณี โดยมีรายละเอียด ดังนี้             ขวัญเวียนซ้าย




 การคัดเลือกควายไทย                     ภูมิปัญญา   53     การคัดเลือกควายไทย
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68