Page 60 -
P. 60

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       1)  ควายที่ลำตัวยาว  เรียกควาย  2          ลักษณะควายหลาบเสือ
            ช่วง (ประเทือง, 2553)จะเดินดี ทำงานเร็ว(ก้าว
            แต่ละก้าวจะไถได้ระยะทางมากกว่าควายตัวสั้น)

                       2)  ควายหลาบเสือ  คือลักษณะตัว
            บางเหมือนเสือ ซี่โครงจะจับต่ำไม่กางออก ควาย
            ประเภทนี้จะไม่อ้วนอุ้ยอ้าย ทำงานคล่องกว่าควาย
            ที่อ้วน นอกจากหลาบเสือแล้ว  หลังต้องเป็นหลัง

            กระแตหยุด(ล้วน,  2553)  คือ  หลังมีลักษณะ
            โกง(โค้ง)เล็กน้อย  เหมือนจังหวะที่กระแต(สัตว์
            เลี้ยงลูกด้วยนม คล้ายหนู)หยุดวิ่งหรือหยุดเดินบน
            กิ่งไม้   เรียกได้ว่าเป็นควายที่หลังโค้งนิดหน่อย

            และ ประสบ(2527) กล่าวว่า ควายที่หลังโกง ท้อง
            ป่อง เรียก “หลังกุ้ง พุงปลากด” ถือว่าเป็นควายชั้น
            สอง ไม่ใช่ควายสวยงาม ควายชั้นนี้จึงน่าจะใช้เป็น
            ควายงาน

                   3.4 ขนาดและน้ำหนัก  ควายงาน  นิยม
            ควายที่ไม่สูงมาก  จะแข็งแรง  ทนงานหนักดีกว่า
            ควายสูง และน้ำหนักไม่มากเกินไป(สอดคล้องกัน
            ทุกภาค) ขนาดควายงานส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับผู้ใช้

            เพราะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไถ และคราด รวมถึง
            กำลังของผู้บังคับและใช้งาน เช่น ถ้าเป็นสตรี ก็มัก
            นิยมใช้ควายเพศเมีย ที่ตัวเล็กกว่าเหมาะกับกำลัง
            ของผู้หญิงด้วย เป็นต้น

                   3.5  ท่าทางการยืน  การยืนอาจไม่สง่า
            เหมือนควายงามตามอุดมคติ แต่ควายงานจะเน้น
            ลักษณะการเดินเป็นสำคัญ โดยจะเน้นการคัดเลือก
            ควายที่เดินเร็ว เดินคล่องแคล่ว และช่วงก้าวเดิน

            รอยเท้าหลัง ต้องก้าวเลยรอยเท้าหน้า  (ทุกภาค)
            ซึ่งจะเป็นควายงานที่เดินเร็ว  ทำงานได้มาก
            นอกจากนี้ยังมีภูมิปัญญาในการคัดเลือก ดังนี้








                                        ภูมิปัญญา   50     การคัดเลือกควายไทย                                                                   ภูมิปัญญา
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65